ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletไก่ฟ้าพญาลอ
bulletไก่ฟ้าจันทบูร
bulletไก่ฟ้าหลังขาว
bulletไก่ฟ้าหน้าเขียว
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งแดง
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งตะกั่ว
bulletนกยูงไทย
bulletไก่จุก
dot
ไก่ฟ้าต่างประเทศ
dot
bulletไก่ฟ้าสีทอง (โกลเด้น)
bulletไก่ฟ้าเยลโล่
bulletไก่ฟ้าเลดี้แอมเฮิทส์
bulletไก่ฟ้าเลดี้ ดำ
bulletไก่ฟ้ารีฟ
bulletไก่ฟ้าคอแหวนเขียว
bulletไก่ฟ้าไวท์เครส
bulletไก่ฟ้าดาร์คโทส
bulletนกยูงอินเดีย
bulletไก่ฟ้า เอ็ดเวิร์ด
bulletไก่ฟ้า สวินโฮว์
bulletไก่ฟ้า อีเลียด
bulletลูกไก่ฟ้า ในฟาร์มบ้านปู่
bulletไก่ฟ้า ไดอารี่
dot
ขอบคุณสื้อมวลชน ไก่ฟ้าบ้านปุ่
dot




นกยูงไทย

 

นกยูงไทย หรือ นกยูงเขียว

ชื่อสามัญ  Green Peafowl
ชื่อวิทยาศาสตร์  ทั่วโลกมีนกยูง 2 ชนิด คือ นกยูงเขียว (Green Peafowl) และ นกยูงอินเดีย (Indian Peafowl) ซึ่งนกยูงเขียวแบ่งเป็น 3 ชนิดย่อย แต่ในประเทศไทยพบเพียง 2 ชนิดย่อย คือ
    -นกยูงเหนือหรือนกยูงเขียวพันธุ์อินโดจีน ( Indo-Chinese Green Peafowl; Pavo muticus imperator )
    -นกยูงใต้หรือนกยูงเขียวพันธุ์ชวา ( Javanese Green Peafowl; Pavo muticus muticus )
 

 

ลักษณะทั่วไป

         เป็นนกที่มีขนาดใหญ่มาก สังเกตได้ง่ายตรงที่ขนคอ หน้าอกและส่วนอื่นๆจะมีสีเขียว และสีเหลืองเหลือบทองดูเป็นมัน ขนคลุมปีกสีน้ำเงิน ปลายปีกสีน้ำตาล ที่หัวมีขนหงอนชี้ตรงเป็นกระจุกสีเขียว ด้านบนศีรษะตั้งแต่ด้านหลังจนถึงหน้าผากจรดโคนจะงอยปากมีขนละเอียดขดเป็นปุ่มเล็กๆ อัดกันแน่นสีน้ำเงินเข้มเป็นมัน ใบหน้าทั้งสองข้างเป็นแผ่นหนังมีสีฟ้าและสีเหลืองล้อมลูกตาและหูตามลำดับ ตัวผู้ขนคลุมหางยาวกว่าหนึ่งเมตร ซึ่งตรงปลายของขนคลุมหางจะมีดอกดวงที่เรียกว่าแววมยุราลวดลายสวยงามเป็นวงรีสามวงซ้อนกัน วงในสุดสีม่วงแก่ วงที่สองสีน้ำเงินและวงที่สามสีเขียวมรกต ริมขอบของวงนอกมีสีจางกว่าวงชั้นใน เห็นได้ชัดเวลารำแพนเกี้ยวตัวเมีย และเมื่อพ้นฤดูผสมพันธุ์ขนคลุมหางจะหลุดออกทำให้ดูคล้ายกับตัวเมีย แข้งสีเทาดำมีเดือยใหญ่ยาวข้างละ 1 เดือย ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า ไม่มีหงอน ไม่มีเดือย มีสีเขียวไม่สดใสเท่าตัวผู้และที่โคนปีกสีน้ำตาลจะมีลายดำสลับชัดเจน มีแผ่นขนคล้ายเกล็ดที่ปกคลุมบริเวณคอ อกและหลังขนาดเล็กกว่า ขาสั้นกว่า ขนคลุมหางยาวไม่เกินขนหางและไม่มีแววมยุรา นกยูงใต้มีขนาดเล็กกว่านกยูงเหนือ มีสีเข้มกว่า ขนคลุมหัวปีกออกเป็นสีฟ้าอมเขียวขณะที่นกยูงเหนือเป็นสีฟ้า หนังที่หูและแก้มของนกยูงใต้จะมีสีเหลืองสดกว่า อย่างไรก็ตามผู้ชำนาญเท่านั้นจึงจะจำแนกนกยูงทั้งสองชนิดได้

 

นกยูงไทย(GreenPeafowl; Pavo muticus)

 

อุปนิสัยและอาหาร

          นกยูงอาศัยอยู่ตามป่าทั่วไปที่มีระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ ตัวผู้หนึ่งตัวต่อตัวเมีย 3-5 ตัวในฤดูผสมพันธุ์ หลังจากนั้นตัวผู้จะอยู่เดียว ตัวเมียจะอยู่ดูแลลูกๆตามลำพัง ออกหากินช่วงเช้าและบ่ายตามชายป่า และตามชายหาดริมลำธาร กลางคืนจับคอนนอนตามกิ่งไม้ที่ค่อนข้างสูง อาหารที่กินได้แก่ เมล็ดพืช ธัญพืช ผลไม้สุกที่หล่นตามพื้น ยอดอ่อนของหญ้า นอกจากนี้ยังชอบกินแมลง ตัวหนอน ไส้เดือน งูและสัตว์ขนาดเล็ก สำหรับในกรงเลี้ยงสามารถเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปตามช่วงอายุต่างๆ โดยให้อย่างเดียวหรือผสมกับเมล็ดธัญพืชแล้วเสริมด้วยอาหารจำพวกหนอนเลี้ยงนก ผลไม้และวิตามิน นกยูงโตเต็มวัยกินอาหารสำเร็จรูปประมาณ 110.13 กรัม/ตัว/วัน

การผสมพันธุ์

          ในกรงเลี้ยงฤดูผสมพันธุ์อยู่ระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน ตัวผู้จะใช้วิธีรำแพนเกี้ยวตัวเมีย ในธรรมชาติทำรังตามพื้นดิน ตามซุ้มกอพืช ซุ้มไม้ อาจมีหญ้าหรือใบไม้รองก้นรัง วางไข่ 3-6 ฟอง ในกรงเลี้ยงวางไข่ตามมุมกรงหรือลังไม้ที่จัดไว้ให้ ไข่มีลักษณะรูปร่างป้านด้านหนึ่งแหลมด้านหนึ่ง เปลือกไข่มีสีขาวนวลถึงสีน้ำตาลอ่อน บางฟองมีจุดกระสีขาว มีวงจรไข่ (Cycle) และการวางไข่แต่ละฟองในแต่ละตับ(Clutch) ไม่คงที่โดยมีระยะห่างการวางไข่แต่ละฟองส่วนใหญ่ 1 วัน และ 2 วัน ตามลำดับ ไข่มีน้ำหนัก 102.69 กรัม กว้าง 51.76 ม.ม. ยาว 73.55 ม.ม. ดัชนีรูปร่างไข่ 73.55% ใช้เวลาฟัก 27-28 วัน ลูกนกยูงไทยแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 64.35 กรัม ตัวเมียสามารถออกไข่ทดแทนได้หลายชุดหากเก็บไข่ไปฟักเอง ลูกนกยูงเกิดใหม่มีขนอุย ลืมตาและเดินตามแม่หากินได้เมื่อขนแห้งและแข็งแรงโดยจะอยู่กับแม่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน นกยูงตัวผู้สามารถผสมพันธุ์ให้น้ำเชื้อได้เมื่ออายุ 3 ปี ส่วนตัวเมียถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป


 
 ขอขอบคุณที่มาของขอมูล โครงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (สพภ.)

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




ไก่ฟ้าในประเทศไทย

ไก่ฟ้าพญาลอ article
ไก่ฟ้าหน้าเขียว article
ไก่ฟ้าหลังเทา article
ไก่ฟ้าหลังขาว
ไก่ฟ้าจันทบูร
ไก่ฟ้าหางลายขวาง
ไก่ป่า
นกหว้า
นกแว่นสีเทา
นกแว่นสีน้ำตาล
ไก่จุก



Copyright © 2014 All Rights Reserved.