ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletไก่ฟ้าพญาลอ
bulletไก่ฟ้าจันทบูร
bulletไก่ฟ้าหลังขาว
bulletไก่ฟ้าหน้าเขียว
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งแดง
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งตะกั่ว
bulletนกยูงไทย
bulletไก่จุก
dot
ไก่ฟ้าต่างประเทศ
dot
bulletไก่ฟ้าสีทอง (โกลเด้น)
bulletไก่ฟ้าเยลโล่
bulletไก่ฟ้าเลดี้แอมเฮิทส์
bulletไก่ฟ้าเลดี้ ดำ
bulletไก่ฟ้ารีฟ
bulletไก่ฟ้าคอแหวนเขียว
bulletไก่ฟ้าไวท์เครส
bulletไก่ฟ้าดาร์คโทส
bulletนกยูงอินเดีย
bulletไก่ฟ้า เอ็ดเวิร์ด
bulletไก่ฟ้า สวินโฮว์
bulletไก่ฟ้า อีเลียด
bulletลูกไก่ฟ้า ในฟาร์มบ้านปู่
bulletไก่ฟ้า ไดอารี่
dot
ขอบคุณสื้อมวลชน ไก่ฟ้าบ้านปุ่
dot




นกหว้า

 

นกหว้า

ชื่อสามัญ  Great Argus
ชื่อวิทยาศาสตร์  ทั่วโลกมี 2 ชนิดย่อย แต่ในประเทศไทยพบเพียง 1 ชนิดย่อย คือ
          - นกหว้ามาเลย์ ( Malay Great Argus; Argusianus argus argus )


ลักษณะทั่วไป


          ตัวผู้และตัวเมียมีหัวและคอเป็นหนังสีฟ้า กลางหัวจากโคนปากมีขนสีดำสั้นๆยาวไปถึงท้ายทอย ตาสีดำ ม่านตาสีน้ำตาล ปากสีเหลือง ตัวผู้มีขนกลางปีกใหญ่และยาวมากกว่า 1 เมตร แต่ละเส้นมีลายดอกดวงสีเนื้อเรียงเป็นแถวข้างหนึ่งของเส้นก้านขน ตั้งแต่โคนเส้นถึงปลายขนบนพื้นสีขนที่มีลายละเอียดสีน้ำตาลเห็นได้ชัดเจนตอนรำแพนเกี้ยวตัวเมีย ลำตัวมีสีน้ำตาลไหม้ ไหล่ทั้งสองข้างและปีกมีสีดำสลับน้ำตาล ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแดง ขนหางคู่กลางยาวมากมีสีจางข้างหนึ่งเข้มข้างหนึ่งจากก้านขนสีดำ ที่ขนหางจะมีวงรีที่เรียกว่าแววซึ่งตรงกลางแววจะมีสีเหลืองปนน้ำตาล วงที่สองสีเขียว วงที่สามสีม่วงแล้วล้อมรอบด้วยสีดำจางๆ ส่วนตัวเมียขนปีกและหางไม่มีดอกดวง ขนกลางปีกสั้นกว่า ขนปีกและขนคลุมปีกทั่วไปมีสีน้ำตาลเข้มสลับลายสีขาวและสีดำ ลำตัวมีสีน้ำตาลไหม้ ขนหางสั้น ตัวเล็กกว่าตัวผู้ แข้งและนิ้วเท้าทั้งสองเพศมีสีแดงอมชมพู ไม่มีเดือย

นกหว้ามาเลย์( Malay Great Argus; Argusianus argus argus )

อุปนิสัยและอาหาร


          นกหว้าอาศัยตามป่าดิบชื้นระดับเชิงเขาจนระดับความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตัวผู้ชอบหวงอาณาเขตโดยเฉพาะ “ลานนกหว้า” ซึ่งเป็นรูปวงกลมรัศมี 6-8 เมตร ที่ใช้สำหรับทำกิจกรรมเกี้ยวพาราสีตัวเมีย มันจะทำความสะอาดลานนี้ตลอดเวลา เพื่อให้ตัวเมียมาที่ลานนี้เพื่อผสมพันธุ์ ถึงแม้ว่านกหว้าตัวผู้จะมีรูปร่างและสีไม่สดสวยเท่ากับไก่ฟ้าชนิดอื่นๆ แต่ตัวผู้จะมีลีลาการเกี้ยวตัวเมียที่วิจิตรสวยงามมาก อาจพูดได้ว่าเป็นไก่ฟ้าที่มีลีลาการเกี้ยวตัวเมียที่น่าดูที่สุด โดยการแพนปีกและหาง เต้นไปรอบๆ ตัวเมีย อาหารของนกหว้ามีทั้งพืชและสัตว์ เช่น แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน ปลวก สัตว์ขนาดเล็ก รวมทั้งพวกเมล็ดพืช ผลไม้สุกที่หล่นจากต้น สำหรับในกรงเลี้ยงสามารถเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปสำหรับไก่เนื้อหรือไก่ไข่ตามช่วงอายุต่างๆที่มีขายตามท้องตลาดโดยให้อย่างเดียวหรือผสมกับเมล็ดธัญพืช แล้วเสริมด้วยหนอนเลี้ยงนก ปลวก รวมทั้งผัก ผลไม้และวิตามินสำหรับละลายในน้ำ


การผสมพันธุ์
          นกหว้าผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ยกเว้นในฤดูฝนที่มีฝนตกหนักเท่านั้น แต่ในกรงเลี้ยงฤดูผสมพันธุ์จะอยู่ระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ทำรังตามพื้นที่โล่งหรือไม่ก็ตามกอหญ้า วางไข่ 1-2 ฟอง ไข่สีขาวหรือครีม ขนาดเฉลี่ย 46.48 x 62.09 มิลลิเมตร ใช้เวลาฟักไข่นาน 24-25 วัน ซึ่งหากเก็บไข่ไปฟักเอง นกหว้าจะออกไข่ทดแทนเหมือกับไก่ฟ้าทั่วไป นกหว้าตัวเมียจะโตเต็มวัยเร็วกว่าตัวผู้ ซึ่งปกติที่อายุ 3 ปี ส่วนตัวผู้จะโตเต็มวัยเมื่ออายุ 4-5 ปีขึ้นไป

 

 
 ขอขอบคุณที่มาของขอมูล โครงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (สพภ.)

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




ไก่ฟ้าในประเทศไทย

ไก่ฟ้าพญาลอ article
ไก่ฟ้าหน้าเขียว article
ไก่ฟ้าหลังเทา article
ไก่ฟ้าหลังขาว
ไก่ฟ้าจันทบูร
ไก่ฟ้าหางลายขวาง
ไก่ป่า
นกยูงไทย
นกแว่นสีเทา
นกแว่นสีน้ำตาล
ไก่จุก



Copyright © 2014 All Rights Reserved.