ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletไก่ฟ้าพญาลอ
bulletไก่ฟ้าจันทบูร
bulletไก่ฟ้าหลังขาว
bulletไก่ฟ้าหน้าเขียว
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งแดง
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งตะกั่ว
bulletนกยูงไทย
bulletไก่จุก
dot
ไก่ฟ้าต่างประเทศ
dot
bulletไก่ฟ้าสีทอง (โกลเด้น)
bulletไก่ฟ้าเยลโล่
bulletไก่ฟ้าเลดี้แอมเฮิทส์
bulletไก่ฟ้าเลดี้ ดำ
bulletไก่ฟ้ารีฟ
bulletไก่ฟ้าคอแหวนเขียว
bulletไก่ฟ้าไวท์เครส
bulletไก่ฟ้าดาร์คโทส
bulletนกยูงอินเดีย
bulletไก่ฟ้า เอ็ดเวิร์ด
bulletไก่ฟ้า สวินโฮว์
bulletไก่ฟ้า อีเลียด
bulletลูกไก่ฟ้า ในฟาร์มบ้านปู่
bulletไก่ฟ้า ไดอารี่
dot
ขอบคุณสื้อมวลชน ไก่ฟ้าบ้านปุ่
dot




นกแว่นสีน้ำตาล

 

นกแว่นสีน้ำตาล

ชื่อสามัญ  Brown Peacock Pheasant
ชื่อวิทยาศาสตร์ ทั่วโลกมีนกแว่นสีน้ำตาล 2 ชนิดย่อย แต่ในประเทศไทยพบเพียง 1 ชนิดย่อย คือ
          - นกแว่นสีน้ำตาลหรือนกแว่นใต้ พันธุ์มาเลย์
          ( Malay Brown Peacock Pheasant; Polyplectron malacense malacense )

ลักษณะทั่วไป

          รูปร่างคล้ายนกแว่นสีเทาแต่มีขนาดเล็กกว่า ตัวผู้มีขนหงอนเป็นพุ่มสั้นๆ ปกติชี้ตั้งขึ้นลักษณะเป็นกระจุกพอเริ่มเกี้ยวตัวเมียขนหงอนจะยื่นไปข้างหน้าเกือบถึงปลายจะงอยปากมีสีเหลือบเขียว ม่วง ชมพู ขนคลุมตัว ขนคลุมปีกและขนคลุมหางมีสีน้ำตาล มีลายประเป็นจุดเล็กๆสีดำตลอดทั้งตัว ยกเว้นใต้คอและส่วนล่างของลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลไม่มีลายเหมือนส่วนบน ช่วงไหล่ ปีก และหางมีดอกดวงสีน้ำเงินหรือสีเขียวเป็นเงามันเรียงเป็นระเบียบ ขนหางคู่กลางมีดอกดวง 2 วง ใบหน้าเป็นผิวหนังสีส้ม ขอบตามีวงกลมสีขาวล้อมรอบทั้งสองข้าง ม่านตาสีฟ้า ขาสีเทาเข้มเป็นมันเหมือนสีของตะกั่ว ปกติที่แข้งจะมีเดือยข้างละ 1 คู่หรือมากกว่านั้น ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ สีตามลำตัวออกสีน้ำตาลทึมกว่า ช่วงไหล่มีลายดอกดวงสีดำขอบสีเนื้อ ใบหน้าเป็นผิวหนังสีเหลืองถึงส้ม บนหัวไม่มีจุกหงอน ม่านตาสีน้ำตาล ไม่มีเดือย

 

นกแว่นสีน้ำตาล ( Malay Brown Peacock Pheasant; P. m. malacense )

 

อุปนิสัยและอาหาร
         ชอบอาศัยตามป่าดิบชื้นที่ราบต่ำ เชิงเขาจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เดี่ยวหรือเป็นคู่ หรือเป็นครอบครัว ตามที่รกทึบ เวลามีศัตรูจะวิ่งหลบซ่อนมากกว่าบินหนี ออกหากินตอนกลางวัน เกาะคอนนอนตามกิ่งไม้เวลากลางคืน อาหารในธรรมชาติได้แก่ พวกแมลง ตัวหนอน ไส้เดือนและสัตว์ที่มีขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังกินเมล็ดหญ้า เมล็ดพืช และผลไม้สุกที่หล่นตามพื้น ในกรงเลี้ยงให้อาหารสำเร็จรูปสำหรับไก่เนื้อหรือไก่ไข่ตามช่วงอายุต่างๆที่มีขายตามท้องตลาด โดยให้อย่างเดียวหรือผสมกับเมล็ดธัญพืชแล้วเสริมด้วยอาหารจำพวกหนอนเลี้ยงนก ปลวก รวมทั้งผัก ผลไม้และวิตามินสำหรับละลายในน้ำ

การผสมพันธุ์
         ฤดูผสมพันธุ์ของนกแว่นสีน้ำตาลอยู่ปลายเดือนธันวาคมถึงมิถุนายน ตัวผู้อาจจะผสมพันธุ์กับตัวเมียเพียงตัวเดียวหรือไม่ก็จับคู่กันไปตลอดชีวิต การเกี้ยวพาราสีไม่ต่างจากนกแว่นสีเทา ทำรังตามกอหญ้าหรือพืชโดยขุดเป็นแอ่งเล็กๆมีหญ้าหรือใบไม้รองรัง ในกรงเลี้ยงส่วนใหญ่อยู่ระหว่างมกราคมถึงมีนาคม ไข่สีขาวครีมค่อนข้างกลมผิวเรียบไม่มีลาย ไข่มีขนาดเฉลี่ย 35.5x46.49 มิลลิเมตร น้ำหนักไข่เฉลี่ย 36.60 กรัม โดยวางไข่เพียง 1-2 ฟองเท่านั้น แต่ในกรงเลี้ยงหากเก็บไข่ไปฟักเองตัวเมียจะวางไข่ทดแทนได้อีกทุก 3 หรือ 4 สัปดาห์ บางปีอาจให้ไข่ถึง 5 ฟอง ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 21-22 วัน ลูกนกแว่นสีน้ำตาลตัวเมียโตเต็มวัยเร็วกว่าตัวผู้ ปกติทั้งตัวผู้และตัวเมียจะโตเต็มวัยเมื่ออายุ 2-3 ปีขึ้นไป

 
 ขอขอบคุณที่มาของขอมูล โครงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (สพภ.)
 

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




ไก่ฟ้าในประเทศไทย

ไก่ฟ้าพญาลอ article
ไก่ฟ้าหน้าเขียว article
ไก่ฟ้าหลังเทา article
ไก่ฟ้าหลังขาว
ไก่ฟ้าจันทบูร
ไก่ฟ้าหางลายขวาง
ไก่ป่า
นกยูงไทย
นกหว้า
นกแว่นสีเทา
ไก่จุก



Copyright © 2014 All Rights Reserved.