ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletไก่ฟ้าพญาลอ
bulletไก่ฟ้าจันทบูร
bulletไก่ฟ้าหลังขาว
bulletไก่ฟ้าหน้าเขียว
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งแดง
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งตะกั่ว
bulletนกยูงไทย
bulletไก่จุก
dot
ไก่ฟ้าต่างประเทศ
dot
bulletไก่ฟ้าสีทอง (โกลเด้น)
bulletไก่ฟ้าเยลโล่
bulletไก่ฟ้าเลดี้แอมเฮิทส์
bulletไก่ฟ้าเลดี้ ดำ
bulletไก่ฟ้ารีฟ
bulletไก่ฟ้าคอแหวนเขียว
bulletไก่ฟ้าไวท์เครส
bulletไก่ฟ้าดาร์คโทส
bulletนกยูงอินเดีย
bulletไก่ฟ้า เอ็ดเวิร์ด
bulletไก่ฟ้า สวินโฮว์
bulletไก่ฟ้า อีเลียด
bulletลูกไก่ฟ้า ในฟาร์มบ้านปู่
bulletไก่ฟ้า ไดอารี่
dot
ขอบคุณสื้อมวลชน ไก่ฟ้าบ้านปุ่
dot




นกแว่นสีเทา

 

นกแว่นสีเทา

ชื่อสามัญ Grey Peacock Pheasant
ชื่อวิทยาศาสตร์  ทั่วโลกมีนกแว่นสีเทา 5 ชนิดย่อย แต่ในประเทศไทยพบเพียง 1 ชนิด คือ
         - นกแว่นสีเทาหรือนกแว่นเหนือ พันธุ์พม่า
          ( Burmese Grey Peacock Pheasant; Polyplectron bicalcaratum bicalcaratum )
 

ลักษณะทั่วไป

          เป็นไก่ฟ้าที่แตกต่างจากไกฟ้าชนิดอื่นๆ คือตัวผู้ที่แข้งสีเทาเข้มจะมีเดือยข้างละอย่างน้อย 2 เดือย ตัวผู้ชนิดย่อย bicalcaratum ลำตัวจะมีสีเทาแกมน้ำตาล คอหอยและหน้าผากสีขาว ช่วงไหล่ ขนคลุมปีกมีดอกดวงขอบสีดำเหลือบม่วง หางมีดอกดวงขอบสีดำเหลือบเขียว หัวมีพุ่มหงอนเป็นขนสั้นๆ ใบหน้าเป็นหนังสีเหลือง ปากสีดำ ในตาของตัวผู้สังเกตได้ชัดเจนกว่าตัวเมียคือขอบชั้นนอกจะเป็นวงกลมสีขาวล้อมรอบตาสีดำทั้งสองข้างส่วนตัวเมียจะมีสีน้ำตาลล้อมรอบสีดำ ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ ปากสีดำ มีหนังใบหน้าสีเหลืองซีดอมดำ สีตามลำตัวออกสีเทาแกมน้ำตาลทึมกว่า ขนที่หน้าอกสีน้ำตาลปลายขอบสีเนื้อเรียงซ้อนกันละเอียดคล้ายลายเกล็ด ขนคลุมปีกไม่มีดอกดวงเหมือนตัวผู้แต่ขนจะมีสีดำขอบสีเนื้อซ้อนกันทำให้เห็นเป็นลายเหมือนดอกดวง หางสั้นกว่าตัวผู้และมีดอกดวงที่หางไม่สวยงามเท่ากับตัวผู้ แข้งและนิ้วเท้าสีเทาเข้มไม่มีเดือย

 

นกแว่นสีเทา ( Burmese Grey Peacock Pheasant; P. b. bicalcaratum )

อุปนิสัยและอาหาร

          ชอบอาศัยตามป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา ในระดับความสูง 600-1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกหากินตอนกลางวันตามที่รกทึบ เกาะคอนนอนตามกิ่งไม้เวลากลางคืน อาหารได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดพืช ผลไม้สุกที่หล่นตามพื้น นอกจากนี้ยังกินพวกแมลง ตัวหนอน ไส้เดือนและสัตว์ที่มีขนาดเล็ก โดยชอบกินจำพวกสัตว์มากกว่าพืช สำหรับในกรงเลี้ยงสามารถเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปสำหรับไก่เนื้อหรือไก่ไข่ตามช่วงอายุต่างๆที่มีขายตามท้องตลาด โดยให้อย่างเดียวหรือผสมกับเมล็ดธัญพืชแล้วเสริมด้วยอาหารจำพวกหนอนเลี้ยงนก ปลวก รวมทั้งผัก ผลไม้และวิตามินสำหรับละลายในน้ำ นกแว่นสีเทาโตเต็มวัยกินอาหารสำเร็จรูปประมาณ 23.08 กรัม/ตัว/วัน

การผสมพันธุ์

          ในธรรมชาติฤดูผสมพันธุ์อยู่ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเมษายน ตัวผู้เกี้ยวตัวเมียโดยการแพนปีกและหางเช่นเดียวกันกับนกยูงและนกหว้า กล่าวกันว่าตัวผู้จะผสมพันธุ์กับตัวเมียเพียงตัวเดียวหรือไม่ก็จับคู่กันไปตลอดชีวิต ในธรรมชาติทำรังตามใต้ซุ้มกอหญ้าหรือพืช วางไข่สีครีมจนถึงสีเนื้อแกมน้ำตาล โดยวางไข่เพียง 1-2 ฟองเท่านั้น สำหรับในกรงเลี้ยงฤดูผสมพันธุ์และวางไข่จะอยู่ระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน ไข่นกแว่นสีเทามีขนาดเล็กและเรียวยาวมากกว่าไก่ฟ้าชนิดอื่น ส่วนใหญ่มีสีขาวนวล ไม่มีลายหรือจุดกระบนเปลือก ไข่มีน้ำหนัก 33.24 กรัม กว้าง 35.31 ม.ม. ยาว 48.10 ม.ม. ดัชนีรูปร่างไข่ 73.41% ใช้เวลาฟักไข่ 22-23 วัน ถ้าเก็บไข่ไปฟักเอง นกแว่นจะไข่ทดแทนได้ 3-6 ชุดเช่นเดียวกับกับไก่ฟ้าอื่นๆ ลูกนกเกิดใหม่แยกออกจากไก่ฟ้าชนิดอื่นได้ง่ายโดยที่หัวจะมีขนอุยสีออกน้ำตาลแดง ลำตัวออกสีน้ำตาลเข้ม ลูกนกแว่นสีเทาตัวเมียโตเต็มวัยเร็วกว่าตัวผู้ ปกติทั้งตัวผู้และตัวเมียใช้เวลาเป็นตัวเต็มวัยที่อายุ 2-3 ปีขึ้นไป

 

 ขอขอบคุณที่มาของขอมูล โครงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (สพภ.)
 

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




ไก่ฟ้าในประเทศไทย

ไก่ฟ้าพญาลอ article
ไก่ฟ้าหน้าเขียว article
ไก่ฟ้าหลังเทา article
ไก่ฟ้าหลังขาว
ไก่ฟ้าจันทบูร
ไก่ฟ้าหางลายขวาง
ไก่ป่า
นกยูงไทย
นกหว้า
นกแว่นสีน้ำตาล
ไก่จุก



Copyright © 2014 All Rights Reserved.