ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletไก่ฟ้าพญาลอ
bulletไก่ฟ้าจันทบูร
bulletไก่ฟ้าหลังขาว
bulletไก่ฟ้าหน้าเขียว
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งแดง
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งตะกั่ว
bulletนกยูงไทย
bulletไก่จุก
dot
ไก่ฟ้าต่างประเทศ
dot
bulletไก่ฟ้าสีทอง (โกลเด้น)
bulletไก่ฟ้าเยลโล่
bulletไก่ฟ้าเลดี้แอมเฮิทส์
bulletไก่ฟ้าเลดี้ ดำ
bulletไก่ฟ้ารีฟ
bulletไก่ฟ้าคอแหวนเขียว
bulletไก่ฟ้าไวท์เครส
bulletไก่ฟ้าดาร์คโทส
bulletนกยูงอินเดีย
bulletไก่ฟ้า เอ็ดเวิร์ด
bulletไก่ฟ้า สวินโฮว์
bulletไก่ฟ้า อีเลียด
bulletลูกไก่ฟ้า ในฟาร์มบ้านปู่
bulletไก่ฟ้า ไดอารี่
dot
ขอบคุณสื้อมวลชน ไก่ฟ้าบ้านปุ่
dot




ไก่ป่า

 

ไก่ป่า

ชื่อสามัญ  Red Junglefowl
ชื่อวิทยาศาสตร์   ทั่วโลกมีไก่ป่า 5 ชนิดย่อย แต่ในประเทศไทยพบเพียง 2 ชนิดย่อย คือ
          -ไก่ป่าตุ้มหูแดงหรือไก่ป่าพันธุ์พม่า
          ( Burmese Red Junglefowl; Gallus gallus spadiceus )
          -ไก่ป่าตุ้มหูขาวหรือไก่ป่าพันธุ์อินโดจีน
          ( Cochin-Chinese Red Junglefowl; Gallus gallus gallus )
 
ลักษณะทั่วไป

          ไก่ป่าถือว่าเป็นบรรพบุรุษของไก่เลี้ยงในปัจจุบัน ตัวผู้มีหงอนจักรสีแดงสดค่อนข้างใหญ่แต่เล็กกว่าไก่แจ้ ใบหน้าสีแดง คอและสร้อยคอสีเหลืองแกมส้ม หน้าอกและท้องมีสีดำ หลังสีแดง ขนคลุมปีกแถวนอกและโคนปีกมีสีเขียวแกมน้ำเงินเป็นมันส่วนที่เหลือสีแดงเข้ม ขนกลางปีกสีน้ำตาลเหลือง ขนปลายปีกสีดำ ขนบริเวณตะโพกจะมีสีขาว ขนหางยาวโค้งลงเป็นหางกะลวยมีขนคลุมโคนหางสีเขียวเป็นมันส่วนด้านล่างสีดำ แข้งและนิ้วเท้าสีเทาถึงดำมีเดือยแหลมโค้งข้างละ 1 เดือย ในฤดูฝนตัวผู้จะผลัดขนและหยุดขันตัวเมียหงอนไม่ใหญ่ และหางจะเป็นลักษณะหางแพน ลำตัวส่วนใหญ่ออกเป็นสีน้ำตาลและเทา แข้งสีเทาถึงดำไม่มีเดือยเหมือนตัวผู้ ลักษณะเด่นที่แยกกันของสองชนิดย่อยคือ ไก่ป่าตุ้มหูแดงจะมีตุ้มหูสีแดง ส่วนไก่ป่าตุ้มหูขาวจะมีตุ้มหูสีขาว

อุปนิสัยและอาหาร

         ไก่ป่าชอบอาศัยตามป่าไผ่ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ชายป่าตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ออกหากินเป็นฝูง ตัวผู้อาจพบอยู่เดี่ยว หากินตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนเกาะคอนนอนตามกิ่งไม้หรือกิ่งไผ่ที่ไม่สูงมากนัก อาหารได้แก่ เมล็ดพืช โดยเฉพาะขุยไผ่และเมล็ดหญ้า และผลไม้ที่หล่นตามพื้น นอกจากนี้ยังกินแมลง หนอน ไส้เดือนและสัตว์ขนาดเล็กที่อยู่ตามพื้นดิน สำหรับในกรงเลี้ยงสามารถเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปสำหรับไก่เนื้อหรือไก่ไข่ตามช่วงอายุต่างๆที่มีขายตามท้องตลาด โดยให้อย่างเดียวหรือผสมกับเมล็ดธัญพืชแล้วเสริมด้วยอาหารจำพวกหนอนเลี้ยงนก ปลวก รวมทั้งผัก ผลไม้และวิตามินสำหรับละลายในน้ำ ไก่ป่าตุ้มหูแดงโตเต็มวัยกินอาหารสำเร็จรูปเฉลี่ย 33.28 กรัม/ตัว/วัน
การผสมพันธุ์
          ในฤดูผสมพันธุ์ ไก่ป่าตัวผู้มักจะร้องหรือขันเพื่อแสดงอาณาเขต หรือเพื่อดึงดูดตัวเมีย แสดงการหึงหวงตัวเมีย และมักต่อสู้เพื่อแย่งตัวเมียกันบางครั้งอาจถึงตายเลยทีเดียว ในกรงเลี้ยงไก่ป่าตุ้มหูแดงมีฤดูผสมพันธุ์และวางไข่ค่อนข้างเร็วกว่าไก่ฟ้าชนิดอื่นๆคือเริ่มประมาณเดือนมกราคมไปจนถึงมิถุนายน ตัวผู้สามารถผสมพันธุ์กับตัวเมียได้หลายตัว ในธรรมชาติทำรังตามพื้นดิน กอไผ่ หรือตามกอหญ้าเป็นแอ่งเล็กๆอาจมีใบไม้รองก้นรัง วางไข่จำนวน 6-12 ฟอง ไข่มีสีขาว ไม่มีลาย แต่ในกรงเลี้ยงมักไข่ตามมุมกรงหรือที่เตรียมไว้ให้ ไข่ไก่ป่าตุ้มหูแดงมีลักษณะรูปร่างไข่คล้ายไข่แม่ไก่พื้นเมืองแต่มีขนาดเล็กกว่า มีสีเปลือกไข่ตั้งแต่สีขาวนวล สีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาล ซึ่งพบว่าสีของเปลือกไข่ไม่มีผลต่ออัตราการฟักออกแต่อย่างใด เปลือกไข่มีผิวเรียบไม่มีลายหรือจุดกระบนเปลือก น้ำหนักไข่เฉลี่ย 28.12 กรัม กว้าง 34.08 ม.ม. ยาว 44.65 ม.ม. ดัชนีรูปร่างไข่ 76.33% ใช้เวลาฟักประมาณ 19-20 วัน ลูกไก่ป่าตุ้มหูแดงมีน้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย 18.20 กรัม และหากเก็บไข่ไปฟักไก่ป่าจะวางไข่ทดแทนได้หลายชุดเช่นเดียวกันกับไก่ฟ้าชนิดอื่นๆ

     

ไก่ป่าตุ้มหูแดง( Burmese Red Junglefowl; Gallus gallus spadiceus )

  

ไก่ป่าตุ้มหูขาว ( Cochin-Chinese Red Junglefowl; Gallus gallus gallus )

 

 
 ขอขอบคุณที่มาของขอมูล โครงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (สพภ.)
 

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




ไก่ฟ้าในประเทศไทย

ไก่ฟ้าพญาลอ article
ไก่ฟ้าหน้าเขียว article
ไก่ฟ้าหลังเทา article
ไก่ฟ้าหลังขาว
ไก่ฟ้าจันทบูร
ไก่ฟ้าหางลายขวาง
นกยูงไทย
นกหว้า
นกแว่นสีเทา
นกแว่นสีน้ำตาล
ไก่จุก



Copyright © 2014 All Rights Reserved.