ในปัจจุบันไก่ฟ้าชนิดนี้ในประเทศไทยอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพป่าซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมันถูกบุกรุกทำลายและเปลี่ยน สภาพเป็น พื้นที่เกษตรกรรม ประกอบกับการที่ไก่ฟ้าหลังเงินจันทบุรีมีถิ่นที่อยู่อาศัยที่ค่อนข้างจำกัด คือในพื้นที่บริเวณป่าตะวันออกนี้เท่านั้น ทำให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก และตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ไก่ฟ้าหลังเงินจันทบุรีได้รับการประกาศให้เป็น " สัตว์ป่าคุ้มครอง "
ในประเทศไทย พบการกระจายของไก่ฟ้าชนิดนี้เพียงพื้นที่ป่า ตะวันออกนี้เท่านั้น โดยจะพบมากที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว,เขาคิชฌกูฏ,เขาสระบาป และบริเวณเขาบรรทัดซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทยและกัมพูชา ไก่ฟ้าหลังเงินจันทบุรี จะมีขนาดเล็กกว่าไก่ฟ้าหลังเงินธรรมดาเล็กน้อย ในเพศผู้จะมีสีของลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำเงินอมดำ มีลายเป็นรูปตัววีสีขาวอยู่ทุกเส้นขนตลอดปีกจนถึงสุดหางแนวขน ตั้งแต่ใต้คางจนถึงท้องเป็นสีน้ำเงินเข้มอมดำ หน้าสีแดงเข้ม แข้งสีแดง มีขนสีน้ำเงินเข้มอมดำเป็นกระจุก จากหัวยาวขนานกับลำตัว ซึ่งผิดกับไก่ฟ้าหลังเงินธรรมดา ซึ่งขนชนิดนี้จะราบไปตามท้ายทอย เพศเมียเป็นสีน้ำตาลแดง ทั้งขนบนหัวมีหงอนสีน้ำตาลแดงพาดชี้ยาว ไปทางด้านท้ายทอย หน้าและแข้งมีสีแดง ไม่มีเดือย ตั้งแต่ส่วนหัวลงมาและท้องจะมีสีน้ำตาลเข้มจางกว่า ส่วนลำตัวและส่วนหางไก่ฟ้าหลังเงินจันทบุรี จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ค่อนข้างสูง เช่นบริเวณป่าดิบชื้น บนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว มีนิสัยหากินในเวลากลางวันโดยจะหากินกันเป็นคู่ๆหรือกลุ่มเล็กๆ การหากินจะใช้เท้าคุ้ยเขี่ย เช่น เดียวกับไก่บ้าน โดยจะหากินขุยไผ่,เมล็ดหญ้า,ลูกไทร,แมลง,ผลไม้ที่ร่วงหล่น จากลำต้น,ไส้เดือน,ตัวหนอน และสัตว์ขนาดเล็กอื่นๆเป็นอาหาร
|