ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletไก่ฟ้าพญาลอ
bulletไก่ฟ้าจันทบูร
bulletไก่ฟ้าหลังขาว
bulletไก่ฟ้าหน้าเขียว
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งแดง
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งตะกั่ว
bulletนกยูงไทย
bulletไก่จุก
dot
ไก่ฟ้าต่างประเทศ
dot
bulletไก่ฟ้าสีทอง (โกลเด้น)
bulletไก่ฟ้าเยลโล่
bulletไก่ฟ้าเลดี้แอมเฮิทส์
bulletไก่ฟ้าเลดี้ ดำ
bulletไก่ฟ้ารีฟ
bulletไก่ฟ้าคอแหวนเขียว
bulletไก่ฟ้าไวท์เครส
bulletไก่ฟ้าดาร์คโทส
bulletนกยูงอินเดีย
bulletไก่ฟ้า เอ็ดเวิร์ด
bulletไก่ฟ้า สวินโฮว์
bulletไก่ฟ้า อีเลียด
bulletลูกไก่ฟ้า ในฟาร์มบ้านปู่
bulletไก่ฟ้า ไดอารี่
dot
ขอบคุณสื้อมวลชน ไก่ฟ้าบ้านปุ่
dot




ไก่ฟ้าหลังขาว

ไก่ฟ้าหลังขาว

ชื่อสามัญ   Silver Pheasant
ชื่อวิทยาศาสตร์ ทั่วโลกมีไก่ฟ้าหลังขาว 14 ชนิดย่อย แต่ในประเทศไทยพบเพียง 2 ชนิดย่อย คือ
          -ไก่ฟ้าหลังขาวธรรมดาหรือไก่ฟ้าหลังเงินหรือไก่ฟ้าหลังเงินโจนส์
           ( Jone’s Silver Pheasant; Lophura nyct hemera jonesi )
          -ไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูรหรือไก่ฟ้าหลังดำ
           ( Lewis’s Silver Pheasant; Lophura nycthemera lewisi )

 

 ไก่ฟ้าหลังขาว

 

ลักษณะทั่วไป


          ตัวผู้ของทั้งสองชนิดย่อยมีหางยาวมากโดยเฉพาะคู่กลาง หนังหน้ากากสีแดงสด บนหัวมีขนหงอนเป็นพุ่มสีดำยาวโค้งไปด้านหลัง ลำตัวด้านล่างสีดำ แข้งและนิ้วเท้าสีแดงมีเดือยข้างละ 1 เดือย ไก่ฟ้าหลังขาวธรรมดาตัวผู้สีขนลำตัวด้านบนและขนหางมีสีขาวสลับลายสีดำ ส่วนไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูรตัวผู้สีขนลำตัวด้านบนและหางจะมีสีเทาเข้มถึงดำสลับลายสีขาว สำหรับไก่ฟ้าหลังขาวธรรมดาตัวเมียมีใบหน้าสีแดง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ด้านล่างสีเทาเข้มมีลายบั้งสีขาว ผิดกับตัวเมียของไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูรลำตัวด้านล่างจะมีสีน้ำตาลอ่อนมีลายบั้งเล็กๆสีน้ำตาลจางๆ ตัวเมียทั้งสองชนิดย่อยมีขนหงอนสีน้ำตาลเข้มแต่ไม่ยาวเหมือนตัวผู้ แข้งและนิ้วเท้าสีแดงไม่มีเดือย

 
อุปนิสัยและอาหาร

           อาศัยตามป่าดงดิบแล้งและป่าดงดิบเขาในระดับความสูง 750-2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็กๆ หากินตอนกลางวันและขึ้นคอนนอนตามกิ่งไม้หรือกิ่งไผ่ตอนกลางคืน อาหารที่กินได้แก่ พวกหนอนแมลงต่างๆ ไส้เดือนหรือสัตว์ขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังกินพวกขุยไผ่ เมล็ดพืช ผลไม้สุกจำพวกลูกไทร เป็นต้น ซึ่งจะชอบกินพวกสัตว์มากกว่าเหมือนกับไก่ฟ้าพญาลอแต่ต่างกับไก่ป่าที่เลือกกินจำพวกเมล็ดพืชมากกว่า สำหรับในกรงเลี้ยงสามารถเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปสำหรับไก่เนื้อหรือไก่ไข่ตามช่วงอายุต่างๆที่มีขายตามท้องตลาด โดยให้อย่างเดียวหรือผสมกับเมล็ดธัญพืชแล้วเสริมด้วยอาหารจำพวกหนอนเลี้ยงนก ปลวก รวมทั้งผัก ผลไม้และวิตามินสำหรับละลายในน้ำ ไก่ฟ้าหลังขาวธรรมดาเต็มวัยกินอาหารสำเร็จรูปเฉลี่ย 46.00 กรัม/ตัว/วัน ไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูรกินอาหารผสมระหว่างอาหารสำเร็จรูปกับเมล็ดธัญพืชอัตราส่วน 1:1 ปริมาณ 43.17 กรัม/ตัว/วัน


การผสมพันธุ์

          ไก่ฟ้าหลังขาวเป็นสัตว์ปีกชนิดที่ตัวผู้สามารถผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายตัว (Polygamous) ในกรงเลี้ยงมีฤดูผสมพันธุ์และวางไข่อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน แต่ไข่ปลายฤดูมักมีอัตราการผสมติดต่ำ ในพื้นที่กรงขนาด 2.5 x 5 x 2 เมตร สามารถจับคู่ผสมพันธุ์ตัวผู้หนึ่งตัวต่อตัวเมียหนึ่งถึงห้าตัวได้ ในธรรมชาติตัวเมียจะทำรังตามพื้นดินหรือกอหญ้าเป็นแอ่งเล็กๆ มีใบพืชรองรัง วางไข่ 4-6 ฟอง ไข่มีสีขาวนวลไม่มีลาย แต่ในกรงเลี้ยงมักไข่ตามมุมกรงหรือที่เตรียมไว้ และหากเก็บไข่ไปฟักเองแม่ไก่จะวางไข่ทดแทนซึ่งไก่ฟ้าหลังขาวธรรมดาจะออกไข่ทดแทนได้มากกว่าไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูร

          ไก่ฟ้าหลังขาวธรรมดาวางไข่ได้ตั้งแต่ 1-4 ชุด เฉลี่ย 2.42 ชุด/แม่ วางไข่เฉลี่ย 13.52 ฟอง/แม่ มีวงจรไข่ (Cycle) และการวางไข่แต่ละฟองในแต่ละตับ (Clutch) ไม่คงที่โดยมีระยะห่างการวางไข่แต่ละฟองส่วนใหญ่ 1 วัน รองลงไปคือ 2 วัน ขนาดและรูปร่างไข่คล้ายไข่ของแม่ไก่พื้นเมืองแต่มีความหลากหลายของสีเปลือกไข่มากกว่าคือเปลือกไข่มีสีตั้งแต่สีขาวนวล สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาล ซึ่งพบว่าสีของเปลือกไข่ไม่มีผลต่ออัตราการฟักออกแต่อย่างใดไข่มีน้ำหนัก 45.96 กรัม กว้าง 39.63 ม.ม. ยาว 52.97 ม.ม. ดัชนีรูปร่างไข่ 74.82% ไข่สามารถนำไปให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักหรือใช้ตู้ฟักไข่ไฟฟ้า โดยใช้เวลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 25-26 วัน ลูกไก่แรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 30.50 กรัม ลูกไก่ฟ้าหลังขาวเกิดใหม่เป็นพวกลูกอ่อนเดินได้ (Pre-cocial) เหมือนไก่ฟ้าชนิดอื่นๆ คือมีขนปกคลุมร่างกายเป็นขนอุย ลืมตาและเดินตามแม่ไปหาอาหารได้เกือบทันทีที่ออกจากไข่ และมีแนวโน้มว่าจะสามารถแยกเพศได้ตั้งแต่แรกเกิดโดยตัวผู้จะมีขอบหนังหน้ากากเด่นชัดกว่าตัวเมียทั้งนี้ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ แต่จะแยกเพศได้แน่นอนเมื่อมีอายุประมาณ 5-6 สัปดาห์ ตัวเมียจะมีรูปร่างสีขนเหมือนตัวเต็มวัยเมื่ออายุประมาณหกเดือนส่วนตัวผู้ประมาณหนึ่งปีครึ่ง บางตัวผสมพันธุ์และวางไข่ได้เมื่ออายุ 1 ปี แต่ส่วนใหญ่จะอายุ 2 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังพบว่าพ่อแม่พันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 2-9 ปีให้ผลผลิตด้านอัตราการผลิตไข่ น้ำหนักไข่ อัตราการผสมติด อัตราการฟักออก ระยะฟักไข่และน้ำหนักแรกเกิดของลูกไก่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนฤดูผสมพันธุ์ของไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูรจะอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม โดยวางไข่ตามมุมกรงหรือที่เตรียมไว้ให้ ไข่ไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูรมีขนาดและรูปร่างคล้ายไข่ไก่ฟ้าหลังขาวธรรมดา แต่สีเปลือกไข่ส่วนใหญ่จะมีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาล และบางฟองมีจุดกระสีขาวที่เปลือก ไข่มีน้ำหนัก 41.17 กรัม กว้าง 38.28 ม.ม. ยาว 51.36 ม.ม. ดัชนีรูปร่างไข่ 74.53% ขนาดไข่เฉลี่ย 37.66 x 51.38 มิลลิเมตร ไข่มีน้ำหนักเฉลี่ย 40.00 กรัม ใช้เวลาฟักประมาณ 24-25 วัน

ไก่ฟ้าหลังขาวธรรมดา ( Jone’s Silver Pheasant; Lophura nyct hemera jonesi )

ไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูร ( Lewis’s Silver Pheasant; Lophura nycthemera lewisi )

 

ขอขอบคุณที่มาของขอมูล โครงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (สพภ.)

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




ไก่ฟ้าในประเทศไทย

ไก่ฟ้าพญาลอ article
ไก่ฟ้าหน้าเขียว article
ไก่ฟ้าหลังเทา article
ไก่ฟ้าจันทบูร
ไก่ฟ้าหางลายขวาง
ไก่ป่า
นกยูงไทย
นกหว้า
นกแว่นสีเทา
นกแว่นสีน้ำตาล
ไก่จุก



Copyright © 2014 All Rights Reserved.