ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletไก่ฟ้าพญาลอ
bulletไก่ฟ้าจันทบูร
bulletไก่ฟ้าหลังขาว
bulletไก่ฟ้าหน้าเขียว
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งแดง
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งตะกั่ว
bulletนกยูงไทย
bulletไก่จุก
dot
ไก่ฟ้าต่างประเทศ
dot
bulletไก่ฟ้าสีทอง (โกลเด้น)
bulletไก่ฟ้าเยลโล่
bulletไก่ฟ้าเลดี้แอมเฮิทส์
bulletไก่ฟ้าเลดี้ ดำ
bulletไก่ฟ้ารีฟ
bulletไก่ฟ้าคอแหวนเขียว
bulletไก่ฟ้าไวท์เครส
bulletไก่ฟ้าดาร์คโทส
bulletนกยูงอินเดีย
bulletไก่ฟ้า เอ็ดเวิร์ด
bulletไก่ฟ้า สวินโฮว์
bulletไก่ฟ้า อีเลียด
bulletลูกไก่ฟ้า ในฟาร์มบ้านปู่
bulletไก่ฟ้า ไดอารี่
dot
ขอบคุณสื้อมวลชน ไก่ฟ้าบ้านปุ่
dot




ไก่ฟ้าหลังเทา article

ไก่ฟ้าหลังเทา

ชื่อสามัญ Kalij Pheasant
ชื่อวิทยาศาสตร์ ทั่วโลกมีไก่ฟ้าหลังเทา 9 ชนิดย่อย แต่ในประเทศไทยพบเพียง 2 ชนิดย่อย คือ
         -ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งเทาหรือแข้งตะกั่ว ( Lineated Kalij; Lophura leucomelanos lineata )
         -ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งแดง ( Crawfurd’s Kalij; Lophura leucomelanos crawfurdii )

ลักษณะทั่วไป

          ตัวผู้มีหนังหน้ากากสีแดง มีขนเป็นพุ่มหงอนยาวสีดำบนหัวชี้ไปด้านหลัง ลำตัวด้านบนมีขนสีดำสลับขาวซึ่งทำให้เห็นเป็นสีเทาเข้ม บริเวณหลังตอนท้ายและตะโพกอาจมีลายแต้มสีขาว ลำตัวด้านล่างมีสีดำ หางคู่กลางมีสีขาว ที่โคนปีกมีขนสีขาวแซมอยู่ชัดเจน ตัวเมียใบหน้าสีแดง ขนจุกหงอนสีน้ำตาลชี้ไปด้านหลัง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล บริเวณรอบคอตลอดจนลำตัวด้านล่างมีลายบั้งรูปตัว “V” สีขาว สีแข้งและนิ้วเท้าทั้งสองเพศถ้าเป็นไก่ฟ้าหลังเทาแข้งเทาจะมีสีเทา และถ้าเป็นไก่ฟ้าหลังเทาแข้งแดงจะมีสีแดง

 

ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งเทาหรือแข้งตะกั่ว ( Lineated Kalij; Lophura leucomelanos lineata )

  

ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งแดง( Crawfurd’s Kalij; Lophura leucomelanos crawfurdii )

 

อุปนิสัยและอาหาร
          อาศัยตามป่าดงดิบแล้งและป่าดงดิบเขาที่ระดับความสูง 600-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล อยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็กๆ เวลาตกใจมักใช้วิธีบินหนี ไก่ฟ้าชนิดนี้มีนิสัยป้องกันอาณาเขตเช่นเดียวกันกับไก่ป่าและไก่ฟ้าชนิดอื่น ออกหากินเวลากลางวันและหลับนอนตามคอนไม้สูงในเวลากลางคืน อาหารที่กินได้แก่แมลง ตัวหนอน ไส้เดือนและสัตว์ขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังกินพวกพืช เช่น ขุยไผ่ เมล็ดหญ้า ผลไม้สุกที่หล่นจากต้นโดยเฉพาะลูกไทร ในกรงเลี้ยงสามารถเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปสำหรับไก่เนื้อหรือไก่ไข่ตามช่วงอายุต่างๆที่มีขายตามท้องตลาดแล้วเสริมด้วยอาหารจำพวกหนอนเลี้ยงนก ผัก ผลไม้และวิตามิน ไก่ฟ้าหลังเทาโตเต็มวัยกินอาหารสำเร็จรูปประมาณ 48.03 กรัม/ตัว/วัน

 

การผสมพันธุ์
          ในธรรมชาติฤดูผสมพันธุ์อยู่ฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ในกรงเลี้ยงอยู่ระหว่างกุมภาพันธ์-มิถุนายน ทำรังตามซุ้มก่อหญ้า กอไผ่ อาจมีวัสดุพวกหญ้าหรือใบไม้รองก้นรัง วางไข่สีครีมหรือสีขาวแก้มเนื้อ จำนวน 6-9 ฟอง ในกรงเลี้ยงมักไข่ตามมุมกรงหรือที่เตรียมไว้ให้ ทั้งสองชนิดมีวงจรไข่และการวางไข่แต่ละฟองในแต่ละตับไม่คงที่โดยมีระยะห่างการวางไข่แต่ละฟองส่วนใหญ่ 1 วัน รองลงไปคือ 2 วัน ไข่ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งตะกั่วมีลักษณะเรียวยาว มีสีเปลือกไข่ตั้งแต่สีขาวนวลถึงสีน้ำตาลอมชมพู ไข่มีน้ำหนัก 40.44 กรัม กว้าง 37.86 ม.ม. ยาว 51.73 ม.ม. ดัชนีรูปร่างไข่ 73.19% ไข่ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งแดงมีขนาดรูปร่างไข่และสีเปลือกไข่คล้ายกับไข่ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งตะกั่ว ไข่มีน้ำหนัก 36.37 กรัม กว้าง 36.34 ม.ม. ยาว 49.37 ม.ม. ดัชนีรูปร่างไข่ 73.61% ทั้งสองชนิดใช้เวลาฟักประมาณ 24-26 วัน ลูกไก่ฟ้าหลังเทาแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 25.41 กรัม และ 26.35 กรัมตามลำดับ ไก่ฟ้าหลังเทาจะวางไข่ทดแทนหากมีการนำไข่ออกไปเช่นเดียวกับไก่ฟ้าชนิดอื่น ลูกไก่ฟ้าหลังเทาจะเป็นตัวเต็มวัยพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 2-3 ปี

 

 ขอขอบคุณที่มาของขอมูล โครงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (สพภ.)

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




ไก่ฟ้าในประเทศไทย

ไก่ฟ้าพญาลอ article
ไก่ฟ้าหน้าเขียว article
ไก่ฟ้าหลังขาว
ไก่ฟ้าจันทบูร
ไก่ฟ้าหางลายขวาง
ไก่ป่า
นกยูงไทย
นกหว้า
นกแว่นสีเทา
นกแว่นสีน้ำตาล
ไก่จุก



Copyright © 2014 All Rights Reserved.