ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletไก่ฟ้าพญาลอ
bulletไก่ฟ้าจันทบูร
bulletไก่ฟ้าหลังขาว
bulletไก่ฟ้าหน้าเขียว
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งแดง
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งตะกั่ว
bulletนกยูงไทย
bulletไก่จุก
dot
ไก่ฟ้าต่างประเทศ
dot
bulletไก่ฟ้าสีทอง (โกลเด้น)
bulletไก่ฟ้าเยลโล่
bulletไก่ฟ้าเลดี้แอมเฮิทส์
bulletไก่ฟ้าเลดี้ ดำ
bulletไก่ฟ้ารีฟ
bulletไก่ฟ้าคอแหวนเขียว
bulletไก่ฟ้าไวท์เครส
bulletไก่ฟ้าดาร์คโทส
bulletนกยูงอินเดีย
bulletไก่ฟ้า เอ็ดเวิร์ด
bulletไก่ฟ้า สวินโฮว์
bulletไก่ฟ้า อีเลียด
bulletลูกไก่ฟ้า ในฟาร์มบ้านปู่
bulletไก่ฟ้า ไดอารี่
dot
ขอบคุณสื้อมวลชน ไก่ฟ้าบ้านปุ่
dot




โรคและการรักษาไก่ฟ้า article

ขอขอบคุณที่มาของขอมูล โครงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (สพภ.)  

 

โรคที่พบในไก่ฟ้าพญาลอและการควบคุมป้องกันโรค 

     สัตว์ตระกูลไก่ฟ้าส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงง่าย มีความต้านทานโรคสูง มีอัตราการรอดตายจากระยะลูกไก่จนถึงโตเต็มวัยสูง หากมีการจัดการเรื่องอาหารและความสะอาดที่ดี การจัดการด้านความสะอาดทั้งเรื่องน้ำ-อาหาร และกรงเลี้ยงเป็นสิ่งจำเป็นมากในการป้องกันโรคโดยเฉพาะโรคระบาด ควรจัดการด้านสุขาภิบาลให้ดี ให้อาหารที่มีคุณภาพถูกต้องตามความต้องการ หมั่นคัดไก่ป่วยหรือพิการออกจากฝูง ให้ยาปฏิชีวนะในกรณีอากาศเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้การมีสถานที่พยาบาลสัตว์ป่วย มีสถานที่กักกันสัตว์ ควบคุมพาหะที่อาจจะมาจากบุคคลภายนอกหรือสัตว์  เช่น สุนัข แมว ยุง หนูและแมลงสาบก็จะช่วยได้อีกทางหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม หากบริเวณที่เลี้ยงไก่ฟ้า พบการเลี้ยงสัตว์ปีกอื่นๆ ที่บริเวณใกล้เคียง เช่น ไก่บ้าน หรือมีมาตรการการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคที่ยังไม่เพียงพอ ปัจจัยเหล่านี้ก็จะสามารถก่อโรคในไก่ฟ้าได้ โรคที่พบได้ในไก่ฟ้าพญาลอ จะมีความคล้ายคลึงกับไก่บ้าน ดังต่อไปนี้ 

 

โรคเกิดจากเชื้อไวรัส

   

1. โรคนิวคาสเซิล ( Newcastle disease ) 

เป็นโรคติดต่อรุนแรงในสัตว์ปีก ไม่เพียงแต่จะทำให้สัตว์ป่วยและตายเท่านั้น ยังอาจตรวจพบเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลชนิดรุนแรงในสัตว์ปีกที่ไม่แสดงอาการป่วยด้วย เนื่องจากสัตว์ได้รับวัคซีนมาก่อนจึงไม่แสดงอาการแต่สามารถแพร่เชื้อไปสู่สัตว์อื่นได้ 

- สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล เชื้อมีชีวิตได้นานในอุจจาระ 

- การติดต่อ : ติดต่อโดยตรงทางอุจจาระ เสมหะของสัตว์ป่วย อาหาร น้ำ อุปกรณ์ต่างๆที่ปนเปื้อนเชื้อ สัตว์ปีกหลายชนิดที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการป่วยแต่สามารถแพร่เชื้อได้นานเป็นปี 

- อาการ : ซึม เบื่ออาหาร อ้าปากหายใจ ไอ จาม หายใจเสียงดัง ไข่ลด ท้องเสีย อุจจาระเหลวสีเขียวปนเหลือง มีอาการทางระบบประสาท หัวสั่น ตัวสั่น คอบิด ชัก อัมพาต  

- รอยโรค : พบจุดเลือดออกและเนื้อตายที่เยื่อบุทางเดินอาหาร อวัยวะต่างๆ เช่น ปอด ต่อมเบอร์ซ่า เกิดการอักเสบ 

- การป้องกันรักษา : ไม่มียาที่ใช้รักษาโรคนี้ อาจใช้วัคซีนสำหรับไก่บ้านหากบริเวณที่เลี้ยงไก่ฟ้าเลี้ยงไก่บ้านด้วย แต่ยังไม่มีผลการวิจัยยืนยันการใช้วัคซีนไก่บ้านในไก่ฟ้าที่แน่นอน 

   

 
2. โรคฝีดาษ ( Pox ) 

อาจไม่ทำให้สัตว์เสียชีวิตโดยตรง แต่ทำให้โตช้า ส่งผลต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ 

 - สาเหตุ : เชื้อไวรัสฝีดาษกลุ่มสัตว์ปีก ( Fowl Pox ) 

 - การติดต่อ : มียุงเป็นพาหะแพร่กระจายโรค และสามารถติดต่อกันโดยตรงระหว่างไก่ปกติกับไก่ที่เป็นโรค 

 - อาการ : มี 2 รูปแบบ คือ ฝีดาษแห้ง จะพบตุ่มนูนในบริเวณที่ไม่มีขนปกคลุม เช่น หงอน เหนียง ใบหน้า รอบดวงตา หรือหน้าแข้ง สัตว์จะซึม เบื่ออาหาร ต่อมาตุ่มจะใหญ่ขึ้น กลายเป็นสะเก็ดสีด าหรือน้ำตาลและมีการลอกหลุดเหลือแต่แผลเป็น อีกรูปแบบหนึ่งคือ ฝีดาษเปียก จะพบตุ่มในช่องปาก ลิ้น หลอดอาหารกระเพาะพัก ถุงลม ลำไส้ อาการจะรุนแรงกว่าฝีดาษแห้ง 

 - การรักษา : รักษาตามอาการ แยกสัตว์ป่วยออกจากสัตว์ปกติ ให้ยาปฏิชีวนะปูองกันการติดเชื้อแทรกซ้อน 

   
 

3. โรคไข้หวัดนก ( Avian influenza ) 

เป็นโรคที่สำคัญในพระราชบัญญัติโรคสัตว์ พ.ศ. 2499 สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ 

 - สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส อินฟลูเอนซ่า เอ ที่ก่อโรคในสัตว์ปีก นอกจากนี้ ไวรัส อินฟลูเอนซ่า เอ ที่ก่อโรคไข้หวัดใหญ่ในคน และสุกร ก็สามารถติดต่อได้ และสามารถแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างเชื้อ กลายเป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ 

 - การติดต่อ : สัมผัสโดยตรงกับสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย จากสิ่งขับถ่ายของสัตว์ป่วย จากเชื้อที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์เครื่องใช้ และอาจติดต่อจากนกในธรรมชาติที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการให้เห็น 

 - อาการ : ความรุนแรงของอาการป่วยขึ้นกับชนิดสัตว์ สัตว์ในกลุ่มไก่ ไก่งวง นกกระทา จะมีความไวมาก ถ้าติดเชื้อชนิดรุนแรงอาจตายโดยไม่แสดงอาการป่วย หรืออาจพบ หน้าบวม หงอนและเหนียงมีสีม่วงคล้ำ มีจุดเลือดออกที่หน้าแข้ง น้ำตาไหล หายใจลำบาก อาจท้องเสีย ชัก ไก่ตายเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้าติดเชื้อชนิดไม่รุนแรง จะพบอาการทางระบบทางเดินหายใจอย่างอ่อน  เช่น ซึม มีน้ำมูก จาม กินอาหารและผลผลิตไข่ลดลง ส่วนเป็ด ห่าน นกน้ำและนกบางชนิดมักทนต่อโรค ไม่แสดงอาการป่วย แต่สามารถแพร่เชื้อได้ 

 - การป้องกัน : สิ่งสำคัญที่สุดคือปูองกันไม่ให้สัตว์ปีกติดเชื้อ โดยการจัดการฟาร์มและมีมาตรการสุขาภิบาลที่เข้มงวด ป้องกันไม่ให้สัตว์พาหะเข้ามาในฟาร์ม ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ และวางมาตรการกักโรคสัตว์ที่นำเข้าใหม่จนพ้นระยะฟักตัวของโรค 

• ในกรณีที่พบสัตว์ป่วย ไม่ควรใช้ยาต้านไวรัส เมื่อพบสัตว์ตายห้ามจับซากด้วยมือเปล่า ควรใช้ถุงมือยาง ถุงมือพลาสติกหรือถุงพลาสติกหนาๆแทน หากสงสัยว่าสัตว์เป็นโรคไข้หวัดนกต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบโดยด่วน 

• การรักษาในคน : ในคนป่วยที่มีไข้สูงและมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที 

• ตัวเชื้อถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน แสงแดดและความแห้ง น้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่มคลอรีน ควอเตอรีแอมโมเนียมและกลูตาอาลดีไฮด์ เหมาะสำหรับฉีดพ่นในฟาร์มหรือพาหนะ เชื้อไวรัสจะทนทานขึ้นเมื่ออยู่ในมูลสัตว์ ปนเปื้อนวัสดุรองพื้น หรือปนเปื้อนในน้ำ จึงสมควรกำจัดมูลสัตว์ก่อนใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ 


 

 โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

 

1. โรคขี้ขาว ( Pullorum disease ) 

- สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella pullorum เชื้อชนิดนี้ ไม่ทนต่อแสงแดด ความร้อน 

ความแห้งแล้ง ยาฆ่าเชื้อธรรมดาสามารถทำลายเชื้อได้ 

 - อาการ : เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดจากแม่ไก่สู่ลูกไก่ผ่านทางไข่ เชื้อจะอาศัยบริเวณรังไข่ ทำให้รังไข่อักเสบ ไข่ที่ฟักออกมาจะมีอัตราการฟักเป็นตัวลดลง ลูกไก่ที่ฟักออกมาได้จะโตช้า โตไม่เต็มที่ และสิ้นเปลืองอาหาร  

อาการในลูกไก่ : ยืนสุมกัน ปีกตก หงอยซึม อุจจาระสีขาวปนเขียว เกรอะกรังรอบๆก้น เบื่ออาหาร  

หอบ และตายที่อายุ 3-10 วัน ถ้าไม่ตายก็จะโตช้า ขนขึ้นไม่เต็มตัว และเป็นตัวนำโรคให้ไก่ตัวอื่นในฝูง 

 อาการในไก่โต : ไม่ค่อยแสดงอาการ แต่จากการทดลองให้เป็นโรคในไก่บ้าน จะพบว่ามีอาการหงอย 

ซึม หงอนและเหนียงสีซีด ท้องร่วง เมื่อผ่าซากพบว่าบริเวณรังไข่มีไข่รูปร่างผิดปกติ สีซีดหรือเขียวคล้ำ เกิดการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง หัวใจขยายใหญ่ มีจุดแข็งสีขาวบนกล้ามเนื้อหัวใจ 

 - การติดต่อ : ไก่ที่เป็นพาหะ ( แพร่ได้ทั้งทางไข่และอุจจาระ ) อุปกรณ์เครื่องมือในเล้าไก่ และสัตว์พาหะ เช่น แมลงวัน 

 - การรักษา :  

• ยาที่ใช้ลดอัตราการตายของลูกไก่  ใช้ยาในกลุ่มซัลฟา เช่น ซัลฟาเมอราซีน ซัลฟาเมธาซีน          ซัลฟาคลินน๊อกซาลิน 

• ยาที่มีสรรพคุณปูองกันและรักษาโรค เช่น ยาฟิวราโซลิโดน 

- การป้องกันและควบคุมโรค 

• แยกสัตว์ป่วยออกมาจากฝูง  

• ทดสอบโรคในไก่อายุ 5 เดือนขึ้นไป เพื่อทราบสถานะของโรค 

• ทำลายซากสัตว์ที่ตายด้วยการเผา 

 

2. โรคหวัดมีเชื้อ (Infectious coryza หรือ roup) 

- สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรียพวก Hemaphillus gallinarum 

- อาการ : มีน้ำมูกเหนียวมีกลิ่น ตาแฉะ หน้าบวม มีแผ่นเหลืองในปาก ไก่จามสะบัด ขนฟู ซึม ไม่ค่อย 

กินอาหาร 

 - การป้องกัน : ให้ฉีดยาปฏิชีวนะตามขนาดที่ระบุ ใช้ยาจำพวกซัลฟาไธอาโซล ซัลฟานาไมด์  

อ๊อกซี่เตตร้าไซคลิน อิริโธไมซิน หรือ สเตรพโตไมซิน และพยายามรักษากรงเลี้ยงอย่าให้อับชื้นหรือฝนสาดเข้าได้ 


 

โรคเกิดจากปรสิตภายใน 

 1. ค็อกซิดิโอซิส ( Coccidiosis ) 

เป็นโรคที่ก่อให้เกิดการอักเสบของลำไส้อย่างรุนแรงและพบได้บ่อย 

 - สาเหตุ : เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ไอเมอเรีย ( Eimeria spp. ) โดยสายพันธ์ที่พบบ่อยมี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ไอเมอเรีย ทีเนลลา ( Eimeria tenella ), ไอเมอเรีย เนคาทริค ( Eimeria necatrix ) และ ไอเมอเรีย อะเซอร์วูลินา ซึ่งจะก่อโรคในลำไส้ที่ตำแหน่งต่างๆกัน ดังนี้ 

• ไอเมอเรีย ทีเนลลา ทำให้เกิดโรคที่ไส้ตัน ( caecum ) ขนาดของไส้ตันหนาขึ้น เมื่อเปิดผ่าจะพบเลือดสดปนกากอาหาร เมื่อล้างกากออกจะพบเยื่อบุลำไส้บางส่วนหลุดลอก พบแผลหลุมและมีเลือดออกทั่วไป 

• ไอเมอเรีย เนคาทริค ท าให้เกิดโรคที่ลำไส้เล็กส่วนกลาง ( jejunum ) โดยจะพบลำไส้บวมขยายใหญ่ขึ้น 5-10 เท่าของขนาดปกติ เมื่อเปิดผ่าจะพบเลือดสดปนกากอาหาร เมื่อล้างกากออกจะพบผนังลำไส้อักเสบ มีแผลหลุมและมีเลือดออกกระจายทั่วไป 

• ไอเมอเรีย อะเซอร์วูลินา พบไม่บ่อย เกิดโรคที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ( duodenum ) ขนาดของลำไส้จะขยายใหญ่กว่าปกติ เมื่อเปิดผ่าจะพบเมือกปนกากอาหาร เมื่อล้างกากออกจะพบแถบสีขาวตามแนวขวางของลำไส้คล้ายขั้นบันได 

- อาการ : ไก่ที่ป่วยจะกินอาหารน้อยลง แต่กินน้ำมากขึ้น หงอยซึม ขนยุ่ง ปีกตก ท้องร่วง มีเลือดปนในอุจจาระ โดยมักจะเห็นเป็นสีแดง น้ำตาล หรือแดงเข้ม 

- การป้องกัน  

•  ใช้การจัดการสุขาภิบาลฟาร์มที่ดี เข้มงวดเรื่องการเข้าออกฟาร์มเพื่อปูองกันการปนเปื้อนเชื้อบิดจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง 

• สิ่งรองพื้นต้องแห้งไม่เปียกชื้นเพื่อลดจำนวนเชื้อในสิ่งแวดล้อม 

• ใช้ยาป้องกันบิดผสมอาหารให้ไก่กิน 

- การรักษา : การรักษาตั้งแต่ไก่เริ่มป่วยจะได้ผลดี ใช้ยาซัลฟาควินนอกซาลีน หรือซัลฟาเมทาซีน หรือ      แอมโปรเลียม ละลายน้ำหรือผสมอาหารให้ไก่กินประมาณ 7 วัน ให้วิตามินเอและวิตามินเคเพิ่มขึ้นกว่าปกติเพื่อให้ไก่ฟื้นตัวเร็วขึ้น

 


2. โรคมาลาเรียในสัตว์ปีก ( Avian Malaria ) 

พบมากในพื้นที่ที่มีน้ำขังอยู่รอบๆหรือเลี้ยงบนบ่อปลาจึงทำให้มียุงชุม พบบ่อยในฤดูฝน 

 - สาเหตุ : เกิดจากโปรโตซัว พลาสโมเดียม กัลลินาเซียม ( Plasmodium gallinaceum ) ตัวเชื้อจะไปทำลายเม็ดเลือดแดงของสัตว์ปีก ไม่เกี่ยวข้องกับโรคมาลาเรียในคน 

 - การติดต่อ : ยุงที่มีเชื้อมาลาเรียเป็นตัวแพร่กระจายโรค ไก่จะแสดงอาการป่วยใน 5-6 วัน  

 - อาการ :  

• แบบเฉียบพลัน ไก่จะซึม ไข้สูง โลหิตจางมาก สังเกตจากหงอนและเหนียงจะซีดมาก อุจจาระสีเขียว นอนหมอบ อาจชักก่อนตาย อัตราการตายอาจสูงถึง 80 % 

• แบบเรื้อรัง แสดงอาการไม่ชัดเจน มักพบหงอนซีด อุจจาระสีเขียว ไข่ลด และมีการตายมากกว่าปกติเล็กน้อย 

- รอยโรค : ซากมีสีซีดมาก ตับและม้ามมีขนาดใหญ่และมีสีเข้มขึ้นกว่าปกติ 

- การรักษา :  

• ใช้คลอโรควิน วันแรกให้ 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตอนเช้าและ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตอนเย็น 3 วันต่อมาให้วันละ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เตตราซัยคลิน 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แบ่งให้เช้าและเย็น นาน 7 วัน ให้วิตามิน A,B,C เพิ่มขึ้นเพื่อลดภาวะเครียด  และให้ยาบำรุงเลือด เช่น ธาตุเหล็ก 

• เมื่อสงสัยว่าไก่เป็นมาลาเรีย ควรรีบสุ่มเจาะเลือดไก่ผสมสารปูองกันการแข็งตัวของเลือดส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจเชื้อ 

 - การป้องกัน : กำจัดยุงและแหล่งเพาะพันธุ์ยุง แต่ไม่ควรพ่นยาฆ่ายุงในเล้าเพราะอาจเป็นอันตรายกับไก่ได้ ควรทำมุ้งรอบเล้าไก่ในฤดูที่มีการระบาดของโรค ( ช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ) 


 

3. โรคลิวโคซัยโตซูโนซิส ( Leucocytozoonosis ) 

พบได้ทั่วไปในประเทศไทย ก่อให้เกิดการตายและผลผลิตไข่ลดลง 

 - สาเหตุ : เกิดจากโปรโตซัว ลิวโคซัยโตซูน ( Leucocytozoon spp. ) ในประเทศไทยพบได้ 2 สายพันธุ์ คือ ลิวโคซัยโตซูน คอลเลอรีไอ ( Leucocytozoon caulleryi ) และ ลิวโคซัยโตซูน ซาบราเซซิ  

( Leucocytozoon sabrazesi ) โดยเชื้อจะเจริญเติบโตได้ทั้งในเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว 

 - การติดต่อ : มีตัวริ้นเป็นพาหะนำโรค เมื่อไก่ถูกตัวริ้นที่มีเชื้อโปรโตซัวนี้กัด เชื้อจะเข้าไปเจริญเป็นตัวอ่อนระยะต่างๆ ในตัวไก่ มีทั้งระยะที่อาศัยในเม็ดเลือดและในอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด ตับ ม้าม ไต กล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถมองเห็นเป็นจุดเลือดออกหรือจุดสีขาวบนอวัยวะนั้นๆ  

 - อาการ : ไก่อาจไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการโลหิตจาง หงอนและเหนียงซีด ซึม กินอาหารลดลง อ่อนเพลีย หายใจเร็ว ท้องเสีย อุจจาระสีเขียว ไข่ลด เมื่อผ่าชันสูตรซากพบตับและม้ามโต มีจุดเลือดออกที่อวัยวะภายในทั่วไปและอาจพบเม็ดตุ่มสีขาวที่กล้ามเนื้ออกและโคนขา 

 - การรักษา : ถ้าพบว่า ลิวโคซัยโตซูน คอลเลอรีไอ เป็นเชื้อก่อโรค ใช้ยาซัลฟาโมโนเมทธ็อกซีน 1 กรัมต่อน้ า 1 ลิตร ให้กินติดต่อกัน 7 วันและเว้น 3 วัน แล้วให้ต่ออีก 3 วัน แต่ถ้าเป็น ลิวโคซัยโตซูน ซาบราเซซิ ยังไม่มียาที่ได้ผลในการรักษา 

 - การป้องกัน : กำจัดตัวริ้นพาหะโดยทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ในแหล่งน้ำรอบโรงเรือนหรือพ่นยาฆ่าแมลงเป็นระยะๆ ลงแหล่งน้ำ หรือ ให้ยากลุ่มซัลฟาผสมอาหารหรือน้ำ เช่น ซัลฟาโมโนเมธ็อกซีน ผสมอาหารอัตราส่วน 50 พีพีเอ็ม ให้กินติดต่อกัน 4-6 เดือน


 

4. โรค Histomoniasis  

 - สาเหตุ : เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ชื่อ Histomonas meleagridis  

 - อาการ : เป็นมากในลูกไก่อายุ 6-24 อาทิตย์ ลูกไก่จะมีอาการซึม ปีกตก คล้ายเป็นหวัด ไม่ค่อยกินอาหาร ตายใน 2-3 วันหลังพบอาการ ผ่าซากจะพบลักษณะเป็นแผลหรือจุดสีขาวหลายแห่งที่ตับ 

 - การป้องกัน : รักษาด้วยยา Furazolibone หรือ Carnibazole และให้ยา Enro ปูองกันโรคแทรกซ้อน ควรทำความสะอาดกรงบ่อยๆ ทำให้พื้นแห้งอยู่เสมอ กำจัดไส้เดือนอย่าให้ไก่กิน เพราะเป็นตัวพาหะและควรถ่ายพยาธิทุก 2-3 เดือน


 

โรคเกิดจากปรสิตภายนอก 

1. หมัดหน้าไก่ 

 อาศัยอยู่ตามซอกหรือรอยแตก ตามรูหรือพื้นกรง มักเกาะติดบริเวณที่เป็นผิวหนังที่ไม่มีขนปกคลุม เช่น บริเวณหน้าไก่ ดูดเลือดทำให้ไก่รำคาญและซูบผอม  

 - การรักษา : ใช้ยากำจัดพยาธิภายนอกที่มีขายตามท้องตลาดหลายชนิดหลายยี่ห้อ เช่น เนกูวอน ไรทีโนน ดีลคริน ไบติคอล วายวิน เป็นต้น ทำตามคำแนะนำที่ฉลาก และใช้แชมพูกำจัดหมัดสุนัขเช็ดบริเวณที่มีหมัดเกาะก็จะทำให้หมัดตายได้  

 - การป้องกัน : ควรพ่นหรือราดที่กรงเลี้ยงด้วยโดยใช้ยาดีลคริน มาลาไธออน เซฟวิน85 หรือใช้โซดาไฟผสมน้ำ โดยพ่นและรดตามพื้นกรง ผนังกรง หลังคาและตามเศษมูลไก่ฟ้าให้ทั่ว ดูแลพื้นกรงให้แดดส่องถึงและควรทำพร้อมกันทุกระยะและบ่อยๆเพื่อกำจัดวงจรการแพร่ระบาดของไข่ ระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย 


 

มาตรการควบคุมและป้องกันโรคขั้นพื้นฐาน

1. การกักโรค ( Quarantine )  

• ใช้ในกรณีนำสัตว์ตัวใหม่ / ชุดใหม่เข้ามาเลี้ยงในฝูง เพื่อทำการตรวจสุขภาพสัตว์ และสังเกตโรคที่อาจแอบแฝงอยู่ในตัวสัตว์ที่ยังไม่แสดงอาการ และพฤติกรรมของสัตว์ โดยจะทำการแยกสถานที่เลี้ยงสัตว์ชุดใหม่ออกจากสัตว์ชุดเดิม ไม่ให้การติดต่อของโรคจากสัตว์ชุดใหม่ ไปยังสัตว์ชุดเดิม หรือจากสัตว์ชุดเดิม ไปยังสัตว์ชุดใหม่ อุปกรณ์ในการเลี้ยงสัตว์ก็ต้องเป็นคนละชุด เพื่อปูองกันการติดต่อของโรค  

• ระยะเวลาในการกักโรคควรเหมาะสมกับระยะฟักตัวที่นานที่สุดของโรค 

• ระยะเวลาในการกักโรคในสัตว์ปีก 30 วัน  

• ระหว่างกักโรค ควรทำการตรวจหาเชื้ออันตราย เช่น โรคไข้หวัดนก 

• ระหว่างกักโรค ควรเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ปรับและเสริมอาหารให้ถูกกับชนิดของสัตว์ และเป็นการปรับสภาพสัตว์ก่อนนำเข้ามาเลี้ยงในสถานที่ใหม่ 


 

2. การสุขาภิบาล ( Husbandry ) 

• จัดการด้านความสะอาดทั้งในสถานที่เลี้ยง น้ำ อาหาร ตลอดจนการเก็บอาหารสัตว์ 

• การใช้ยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม และการกำจัดของเสีย เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะซากสัตว์ หรือของเสียที่ติดเชื้ออันตราย ควรทำการเผาหรือฝังอย่างถูกวิธี 

• หมั่นแยกสัตว์ป่วยออกจากฝูง กรณีพบโรคร้ายแรง ควรพิจารณาทำเมตตาฆาต 

• ควบคุมและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค เช่น สุนัข แมว ยุง หนู และแมลงสาบ 

• ควบคุมพาหะที่มาจากบุคคลภายนอก รถขนส่งสัตว์ อุปกรณ์เครื่องใช้ในฟาร์ม ควรแยกกันระหว่างสัตว์ปกติ สัตว์ป่วย และสัตว์ที่เพิ่งนำเข้าฝูง ควรมีบ่อจุ่มฆ่าเชื้อ ทั้งคนและพาหนะ 


 

3. การป้องกันโรค 

• มีการให้ยาปฏิชีวนะและวิตามินผสมน้ำหรืออาหาร ในกรณีที่อากาศเปลี่ยนแปลง หรือมีการเกิดโรคในพื้นที่ใกล้เคียง 

• สำหรับการทำวัคซีนไก่ฟ้า เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนที่ใช้สำหรับไก่ฟ้าโดยเฉพาะ ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นวัคซีนที่ใช้กับไก่บ้าน ไก่ไข่หรือไก่เนื้อ สำหรับไก่ฟ้ายังไม่มีผลงานวิจัยที่แน่นอน อีกประการหนึ่ง ไก่ฟ้าที่โตแล้วมักจะทำได้ยาก เพราะเวลาจับ ขนไก่ฟ้าอาจหัก หลุดร่วงดูไม่สวยงาม และอาจเกิดการบาดเจ็บได้ แต่หากบริเวณที่เลี้ยงไก่ฟ้าเลี้ยงไก่บ้านไว้ด้วย จะเพื่อใช้ฟักไข่หรืออย่างไรก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำโปรแกรมวัคซีนสำหรับไก่บ้าน รวมทั้งต้องกำจัดพยาธิภายในและภายนอกเพื่อป้องกันการติดต่อมายังไก่ฟ้าที่เราเลี้ยงไว้ 


 

4. การสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจโรค 

• สามารถส่งตัวอย่างสัตว์ป่วยหรือซากสัตว์อย่างน้อย 5 เปอร์เซ็นต์ของฝูงมาเพื่อชันสูตรโรค 

• เก็บซากสัตว์ที่ตายใส่ถุงพลาสติกที่สะอาด มัดปากถุงให้แน่น แช่น้ำแข็งแล้วรีบนำส่งศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์ พร้อมทั้งระบุรายละเอียดด้วย เช่น วันเวลาที่สัตว์ตาย ชนิด เพศ พันธุ์ อายุ อาการและความผิดปกติของสัตว์ป่วย เป็นต้น 

• การเก็บตัวอย่างมูลสัตว์ เพื่อตรวจหาไข่พยาธิหรือโปรโตซัว จึงควรเก็บอุจจาระที่ยังสดใหม่ บนพื้นเล้า 2-3 บริเวณ หลายๆห้องในแต่ละเล้าแล้วรวมเป็น 1 ถุงต่อเล้า รัดปากถุงให้แน่น แล้วรีบนำส่งภายใน 24 ชั่วโมง หากไม่สามารถส่งได้ทันทีให้แช่เย็นที่ 4 องศาเซลเซียส หรือเก็บรักษาด้วย 10 เปอร์เซ็นต์ บัฟเฟอร์ ฟอร์มาลิน ปริมาณ 10 เท่าของอุจจาระ 

 

 


สถานที่ส่งตัวอย่างสัตว์ป่วยหรือซากสัตว์เพื่อทำการชันสูตรโรค 

 

1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือ ( ตอนบน ) จ.ล ปาง 

2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือ ( ตอนล่าง ) จ.พิษณุโลก 

3. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันตก จ.ราชบุรี 

4. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช 

5. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ตอนบน ) จ.ขอนแก่น 

6. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ตอนล่าง ) จ.นครราชสีมา 

7. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี 

8. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ  กทม. 

9. ปศุสัตว์อำเภอและปศุสัตว์จังหวัด 

การสังเกตอาการป่วย

1. ซึมหงอย                                                               8.ขี้มูก ขี้ตา

2. เบื่ออาหาร / ไม่กินอาหาร                                     9. ขอบตาบวม

3. ผอม                                                                    10.ขี้ติดก้น

4. ซุกกับพื้น                                                              11. ขนแตกปลาย

5. ปีกตก                                                                   12. นิ้วขางอ

6.แยกตัว                                                                   13. มูกเลือด

7. พองขน                                                                   14. มูกเลือด ตุ่มฝีหนอง

 
 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




อาหารและการเลี้ยงดูไก่ฟ้า

อาหารสำหรับไก่ฟ้า article
กรงและการเพาะเลี้ยงไก่ฟ้า article



Copyright © 2014 All Rights Reserved.