สายพันธุ์ไก่ฟ้าโลก 16 ตระกูล |
1.ไก่ฟ้าตระกูล นกหว้า (Argusianus)
ไก่ฟ้าชนิดนี้เป็นนกหว้าธรรมดา จัดอยู่ในตระกูล Argusianus ลักษณะทั่วไป เพศผู้จะมีสีน้ำตาลปนเทาขนปีกยาว กลางหัวมีขนเส้นยาวๆลักษณะคล้ายหงอน ใบหน้าและคอเป็นสีฟ้า ปากสีเหลือง ขาสีแดง ไม่มีเดือย ขนหางคู่กลางยาวเลยเส้นอื่นๆออกไปมาก ปีกมีจุดแววคล้ายแววนกยูง เพศเมียมีลักษณะคล้ายๆกับเพศผู้แต่ตัวเล็กกว่า หางสั้นกว่าและไม่มีขนหางคู่กลางที่ยาวเหมือนเพศผู้ ถึงแม้จะเป็นนกที่มีรูปร่างและสีสันไม่สวยสดใสเหมือนไก่ฟ้าชนิดอื่นๆ แต่ลีลาการรำแพนของนกหว้ามีเสน่ห์ดึงดูดใจ และอาจพูดได้ว่านกหว้าเป้นไก่ฟ้าที่มีลีลาการเกี้ยวพาราสีที่น่าดูที่สุดในตระกูลไก่ฟ้าด้วยกัน ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจ
นกหว้า
ชื่อสามัญ Great Argus
ชื่อวิทยาศาสตร์ Argusianus argus
นกหว้าเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ไม่มีเดือย ชอบอาศัยอยู่ตามป่าลึกที่มีความทึบมากๆ ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 4000 ฟุต มีน้อยมากในป่าธรรมชาติแบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันมาก
1. Malay Great Argus
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Argusianus argus argus
มีอยู่ในคาบสมุทรมาเลย์เกาะสุมาตรา ตอนใต้ของประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีจันธ์จนถึงแหลมมลายู
|
 |
2. Bornean Great Argus
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Argusianus argus grayi
มีในเกาะบอร์เนียว ตามป่าเชิงเขาไม่พบตามชายฝั่ง มีลักษณะเด่นน้อยกว่าชนิดแรก แต่จะมีสีสดใสกว่าเล็กน้อย
|

|
นกหว้า ถูกส่งจากสิงคโปร์ ไปที่สวนสัตว์กรุงลอนดอนเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1872 เป็นนกที่ชอบหากินอยู่ตัวเดียว นอกจากฤดูผสมพันธุเท่านั้น โดยตัวผู้จะทำลานสำหรับรำแพน เรียกว่า "ลานนกหว้า" แล้วส่งเสียงร้องซึ่งดังมากได้ยินไปไกลเพื่อเรียกตัวเมียให้มาหา นกหว้าจะรำแพนด้วยขนปีก ไม่เหมือนนกยูงที่รำแพนด้วยหาง เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะแยกตัวออกไปสร้างรังตามพื้นดินใต้ต้นไม้วางไข่ครั้งละ 2 ฟองเท่านั้น ในระยะห่างกัน 2 วันใช้เวลาฟักไข่ 26 วัน ตัวผู้โตเต็มวัยเมื่ออายุ 3 ปี แต่จะผลัดขนปีกและหางไปเรื่ยๆจนยาวเต็มที่เมื่ออายุ 6-7 ปี ตัวเมียถ้าเลี้ยงรวมกันมักจะตีกัน
|
2.ไก่ฟ้าตระกูล Rheinartia
- นกหว้าหงอนเวียดนาม
- นกหว้าหงอนมาเลย์
ในธรรมชาตินกหว้าทั้งสองชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ในป่าลึกที่ชื้นตามเชิงเขา และบนภูเขาตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับ 5000 ฟุต มักหากินตามลำพังตัวเดียวในฤดูผสมพันธุ์ เพศผู้จะทำลานไว้คอยรำแพนอวดตัวเมียโดยจะทำไว้ใต้ต้นไม้ และจะรักษาลานให้สะอาดอยู่เสมอไม่ยอมให้มีใบไม้หรือกิ่งไม้ตกอยู่เลยแม้แต่ชิ้นเดียว และจะคอยขับไล่ตัวอื่นๆไม่ให้ให้เข้ามาในบริเวณลานที่ทำเอาไว้ นกหว้าหงานจัดเป้นพวก Polygamous คือเป็นพวกที่สามารถผสมพันธุกับตัวเมียได้หลายตัว แต่จะไม่จับคู่หรือคุมฝูงในธรรมชาติเป็นนกที่บินได้เก่ง และมักจะใช้เวลาส่วนใหญ่เกาะอยู่บนต้นไม้ วางไข่ครั้งละประมาณ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ 25 วัน
นกหว้าหงอน
ชื่อสามัญ Rheinart’s Crested Argus
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rheinartia ocellata
นกหว้าหงอนจัดอยู่ในตระกูล Rheinartia เป็นนกที่มีขนมาก ทำให้ดูตัวใหญ่ทั้งๆที่มีน้ำหนักพอๆกับไก่ฟ้าโมนาล มีปากและขาเรียวเล็กไม่มีเดือย มีขนหาง 12 เส้น คู่กลางจะกว้าง และยาวที่สุด จัดว่าเป้นนกที่มีขนหางใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นจุดเด่นของนกตระกูลนี้ ทั่วทั้งตัวเป้นสีน้ำตาล เพศผู้มีขนหงอนยาวเป้นพืดเหมือนกำมะหยี่จนถึงต้นคอด้สนหลัง เพศเมียก็มีหงอนแต่สั้นกว่า ขาและหางก้สั้นกว่าด้วย เพศผู้อายุ 3 ปี ขนถึงจะเต็มแต่หางจะยังสั้นในปีแรกๆและจะยาวออกทุกๆปีจนยาวเต็มที่เมื่ออายุ 5-6 ปี ไก่ฟ้าตระกูลนี้สามารถแบ่งเป็นอีก 2 ชนิดย่อย คือ
1.นกหว้าหงอนเวียดนาม (Rheinart’s Crested Argus)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rheinartia ocellata ocellata มีถิ่กำเนิดในบริเวณตอนกลางของประเทศเวียดนามถูกนำไปเลี้ยงที่ฝรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ.1924 และเพาะเลี้ยงจนขยายพันธุ์ได้ในปีต่อๆมา ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดเพาะ เลี้ยงอยู่เลย แต่เชื่อว่าอยู่บ้างในธรรมชาติ
|

|
2.นกหว้าหงอนมาเลย์ (Malay Crested Argus)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rheinartia ocellata nigreseens มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมาเลย์บริเวณตอนกลางของประเทศมาเลเซีย มีลักษณะคล้ายกับนกหว้าหงอนเวียดนามแต่ตัวเล็กกว่าเล็กน้อย ขายาวกว่า สีโดยทั่วไปเข้มกว่าจุดบนขนเป็นระเบียบมีมากกว่า โดยเฉพาะขนหงอนสีขาวที่ด้าน หน้าเป็นสีดำยาวถึง 85 มม. ในขณะที่ของเวียดนามยาวเพียง 60 มม. ไม่มีประวัติ การเพาะเลี้ยงในยุโรป หรือ อเมริกาเลย และปัจจุบันไม่มีผู้ใด เพาะเลี้ยง นอกจากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าทางราชการของประเทศมาเลเซียเพียงแห่งเดียว
|

|
3.ไก่ฟ้าตระกูล Pavo
- นกยูงไทย
|
 |
- นกยูงอินเดีย
|
 |
- นกยูงขาว
|

|
4.ไก่ฟ้าตระกูล Afropavo
- นกยูงคองโก
นกยูงคองโกเป้นนกในตระกูลไก่ฟ้าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในจำนวนทั้งหมด 48 ชนิด ที่ไม่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเซีย โดยมีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มแม่น้ำคองโกตอนกลางของทวีปแอฟริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ.1913-1936 นักปักษีวิทยาจัดให้อยู่ในตระกูล Afropavo รูปร่างดูเผินๆคล้ายนกคล้ายนกยูงแต่เพศผู้หางไม่ยาว และไม่มีจุดแววอย่างนกยูงทั่วไป ส่วนบนของตัวเป็นสีเขียว คอ ส่วนล่างของลำตัว และปลายหางเป็นสีม่วงแกมดำ แต่ในเพศเมียส่วนที่เป็นสีม่วงจะเป็นสีน้ำตาลหมด เพศผู้มีหงอนเป็นเส้นแข็งๆคล้ายขนหมูเป็นกระจุกสีขาว และติดกับสีขาวเป็นกระจุกสีดำอยู่ทางด้านหลัง ทั้งเพศผู้และเพศเมียจะมีรูปร่างป้อมๆ ความสวยงานของนกยูงชนิดนี้อยู่ที่ขนสีของมันเท่านั้นเอง
นกยูงคองโก
ชื่อสามัญ Congo Peacock
ชื่อวิทยาศาสตร์ Afropavo congensis
|
.
|
นกยูงคองโกมีข้อแตกต่างอย่างมากจากนกยูงไทยและนกูงอินเดีย ซึ่งอยู่ในตระกูล Pavo โดยมีขนาดตัวเล็กกว่า ตัวผู้ไม่มีขนหางเหมือนนกยูงไทยและนกยูงอินเดีย ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีรูปร่างป้อมๆมีหงอนที่เป็นขนแข็งๆตั้งขึ้นอยู่บนหัว ความสวยของนกยูงชนิดนี้อยู่ที่สีของขน ชอบอาศัยอยู่ตามป่าที่มีฝนตกชุกที่ระดับความสูง 1,200-1,500 ฟุต จากระดับน้ำทะเลนกยูงคองโกจัดว่าเป็นพวก Monogamous คือเป็นพวกผัวเดียวเมียเดียว มักพบว่าออกหากินเป็นคู่ ชอบนอนบนต้นไม้สูงๆ และมักส่งเสียงร้องในเวลากลางคืน ในขณะที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้
|

|
ข้อสังเกตจากการนำมาเพาะเลี้ยง มันเป็นนกยูงที่เลี้ยงให้รอดตายยาก และขยายพันธุ์ยากด้วย เป็นนกที่ไม่ค่อยตื่นคนมากนัก ตัวผู้มักจะรำแพนบ่อยทั้งๆที่ไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ปกติจะว่างไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ 26 วัน ตัวผู้จะมีขนสวยสมบูรณ์ในปีที่ 2 นกยูงชนิดนี้มีผู้เพาะเลี้ยงน้อยมาก จะมีอยู่ในเฉพาะสวนสัตว์ใหญ่ๆในต่างประเทศเท่านั้น |
|
5.ไก่ฟ้าตระกูล Tragopan
- ไก่ฟ้าเวสเทิร์นทราโกแพน
- ไก่ฟ้าชาไทร์ทราโกแพน
- ไก่ฟ้าคาบอททราโกแพน
- ไก่ฟ้าบลิทห์ทราโกแพน
- ไก่ฟ้าทิมมิกทราโกแพน
ไก่ฟ้าทราโกแพนจัดอยู่ในตระกูล Tragopan ไม่มีชื่อไทยมักเรียกทับศัพท์ว่า ไก่ฟ้าทราโกแพน และมีบางท่านเรียกว่า ไก่ฟ้าจุด ไก่ฟ้าชนิดนี้บางทีก็เรียกว่า Homed pheasant เพราะมีเนื้องอกยาวออกมาเหนือตา 2 ก้อนคล้ายเขา มีเหนียงใต้คอสีแดงฟ้าซึ่งพองเข้าออกได้เวลาเข้าคู่ผสมพันธุ์ ส่วนมากตามลำตัวจะเป็นสีแดงมีจุดขาว หรือน้ำตาล เป็นไก่ฟ้าที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ไก่ฟ้าทราโกแพนมีทั้งหมด 5 ชนิด คือ
1.ไก่ฟ้าเวสเทิร์นทราโกแพน
ชื่อสามัญ Western Tragopan
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tragopan melanocephalus
|
 |
ไก่ฟ้าเวสเทิรืนทราโกแพนเป็นชนิดที่หาได้ยากที่สุดในตระกูลนี้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าลึกบนเทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันตก มีผู้รายงานว่ามันอยู่ใน Swat Kohistan และ Azad Kashmir และสมัยก่อนมันเคยมีอยู่มากที่ Hazara และกระจายไปทางตะวันออกของแคชเมียร์ จนถึงGarhwal ในอินเดีย มันอยูในป่าที่ค่อนข้างแห้งกว่าชนิดอื่น ที่ระดับความสูง 8,000-10,000 ฟุต เมื่อถึงฤดูหนาวจะหากินต่ำลงมาถึง 4,000 ฟุต หากินเป็นครอบครัวเล็กๆ หรือหากินเพียงตัวเดียวในช่วงฤดูก่อนผสมพันธุ์ และเนื่องจากการหากินที่ลงต่ำในฤดูหนาว มันจึงถูกชาวพื้นเมือล่าเป็นจำนวนมาก และเนื่องจากการกระจายถิ่นจำกัด จึงเหลือน้อยมากในธรรมชาติ และถูกจัดให้อยู่ใน Appendix 1 ของ CITES และใน Kullu District ของ Himachal Pradesh เรียกไก่ฟ้านี้เป็นภาษาพื้นเมืองว่า "Jujurana" ซึ่งหมายถึง "King of Birds"
|
 |
2.ไก่ฟ้าชาไทร์ทราโกแพน
ชื่อสามัญ Satyr Tragopan
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tragopan satyra
|
|
ไก่ฟ้าชาไทร์ทราโกแพนเป็นไก่ฟ้าทราฌโกแพนที่มีมาก และแพร่หลายที่สุด ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในป่าธรรมชาติ มีถิ่นกำเนิดในป่าไม้บนเขาตอนกลาง และด้านตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัยพบจาก Kumaon ในอินเดียไปทางตะวันออกจนถึงเนปาล สิกขิม ภูฏาน และในป่าทางด้านใต้ของ ธิเบต ไก่ฟ้าชาไทร์ทราโกแพนชอบอยู่ตาป่าทึบที่ระดับความสูง 8,000-10,000 ฟุต และจะหากินต่ำลงมาในฤดูหนาวจนถึงระดับความสูง 4,000 ฟุต มันมีการกระจายถิ่นที่กว้างขวาง จึงยังคงมีอยู่มากในธรรมชาติ ถึงแม้จะถูกชาวพื้นเมืองล่าเป็นจำนวนมาก ปกติพวกไก่ฟ้าทราโกแพนจะทำรัง และวางไข่บนที่สูง แต่ไก่ฟ้าชาไทร์ทราโกแพนกลับชอบวางไข่บนพื้นดิน โดยทำรังอยู่ใต้พุ่มไม้วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 28 วัน ลูกไก่แข็งแรงและพัฒนาได้เร็วมากสามารถบินขึ้นไปเกาะกิ่งไม้ได้เมื่ออายุ 2-3 วันเท่านั้น ตัวผู้จะมีสีสดใสเต้มที่เมื่อมีอายุ 2 ปี
|
ไก่ฟ้าชาไทร์ทราโกแพนถูกส่งไปเลี้ยงที่สวนสัตว์กรุงลอนดอนเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1863 แต่เลี้ยงได้ไม่กี่ปีก็ตายหมด แต่ไปขยายพันธุ์ได้ในฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1868 มันขยายพันธุ์ได้ยากกว่า และปรพสบความสำเร็จในการเลี้ยงน้อยกว่าไก่ฟ้าทีมมีกทราโกแพน แต่มันถูกนำเข้าอย่างสม่ำเสมอและเป็นจะนวนมากกว่าไก่ฟ้าทราโกแพนทุกชนิด ระหว่างปี ค.ศ.1864-1882 มีการนำเข้าไปในประเทศอังกฤษถึงประมาณ 1,200 ตัว ส่วนใหญ่ก็นำเข้าไปจากประเทศอินเดีย และระหว่างปี ค.ศ.1920-1940 ก็มีการส่งไปจากกัลกัตตาเป็นจะนวนไม่น้อยโดยชาวพื้นเมืองดักได้ในฤดูหนาว แต่ตายในระหว่างการขนส่งจำนวนมาก ปัจจุบันมีการเลี้ยงไม่มากนักในยุโรป และอเมริกา แต่มีมากในเบลเยี่ยมซึ่งที่นั่นประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงดีมาก |
3.ไก่ฟ้าคาบอททราโกแพน
ชื่อสามัญ Cabot’s Tragopan
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tragopan caboti
ไก่ฟ้าคาบอททราโกแพนเป็นไก่ฟ้าที่มีสีสันน้อยสุดในกลุ่มทราโกแพนและในธรรมชาติเป็นชนิดที่อยู่ทางด้านตะวันออกสุดของกลุ่มด้วย พบเฉพาะในป่าบนภูเขาทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจีนในจังหวัดฟูเกี๋ยน และกวางตุ้ง ชอบอยู่ท่ามกลางดงไม้ที่ระดับความสูง 3,000-5,000 ฟุต ซึ่งนับว่าต่ำที่สุดในจำพวกเดียวกัน มันเป็นนกที่อยู่กับต้นไม้มากกว่าไก่ฟ้าทุกชนิด และมักจะหากินอยู่ระหว่าง กิ่งไม้เป็นประจำ มีผู้เคยพบว่ามันวางไข่บนต้นไม้สูงบนรังเก่าของกระรอก
|
มันถูกกล่าวถึงตั้งแต่ปี ค.ศ.1857 แต่ไม่มีไก่ฟ้าที่มีชีวิตไปถึงยุโรปเลยจนถึงปี ค.ศ.1882 จึงมีการเลี้ยงกันและขยายพันธุ์ได้ จนมีการเลี้ยงกันทั่วไป ถึงแม้มันจะเลี้ยงง่ายแต่ก็อายุสั้นกว่าชนิดอื่น ๆ ก่อนปี ค.ค.1914 มันเป็นไก่ราคาถูกที่สุดในกลุ่มทราโกแพนในฝรั่งเศส และก็เหมือนชนิดอื่นที่พอหลังสงครามก็หายาก มีการนำเข้าจากจีนอีกในปี ค.ค.1920 และส่งไปที่อเมริกาเหนือด้วย ในปี ค.ศ.1960 ไก่ฟ้าจำนวนหนึ่งถูกส่งจากฮ่องกงไปในอังกฤษและมีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้ จนมีการกระจายไปที่อเมริกา เยอรมัน และ เบลเยี่ยม เนื่องจากมันมีสีที่สดใสน้อยกว่าชนิดอื่น จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมในหมู่นักเพาะเลี้ยงมากนัก แต่มันนับว่าเป็นทราโกแพนที่เชื่องที่สุด และสุภาพที่สุดในจำนวนทั้งหมด 5 ชนิด ในกรงเลี้ยงมันใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ แต่ตัวเมียกลับทำรังและวางไข่ใต้พุ่มไม้บนพื้นดิน เพราะมีการกระจายถิ่นจำกัดมากและการอยู่ระดับต่ำ ทำให้มันถูกล่าได้ง่าย ทำให้มันมีจำนวนน้อยลง และในการเพาะเลี้ยงก็มีจำนวนน้อยมาก มันจึงถูกจัดให้เป็นไก่ฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์
|
.jpg) |
ชื่อสามัญ Blyth’s Tragopan
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tragopan blythi blythi
เป็นพวกทราโกแพนอีกชนิดหนึ่งที่มีน้อยหาได้ยากทั้งในธรรมชาติและในการIพาะเลี้ยง จึงถูกจัดให้เป็นไก่ฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดบนภูเขาของอัสสัม และด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพม่าทางตอนใต้ของเทือกเขาพรหมบุตร และนาจาไปทางตะวันออกถึงพม่าตอนเหนือ และไปทางตะวันออกเฉียงใต้จนถึงเขามณีปุระ และ Chin Hills ชอบอยู่ในป่าที่ทึบและ ชื้นกว่าพวกแซทไทร์ ที่ระดับความสูง 6,000-9,000 ฟุต ชอบอยู่ตามต้นไม้ มีนิสัยสันโดษและเป็นนกประจำถิ่น ขี้อาย และระมัดระวังตัวมาก พบเห็นตัวได้ยาก เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะส่งเสียงร้องและจะเริ่มรำแพนเรียกความสนใจจากตัวเมีย มันแข็งแรงและอดทนเหมือนแซทไทร์ แต่ไข่ไม่ดกเท่า ชอบไข่ในตะกร้าที่แขวนไว้สูง ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกใน ค.ศ.1870 และตัวผู้ตัวหนึ่งถูกส่งจากอัสสัมไปเลี้ยงที่สวนสัตว์ กรุงลอนดอนในปีเดียวกัน แต่อยู่ได้ 6 เดือนก็ตาย W.Jamrach นำเข้าไปอีกในปี ค.ศ.1882 จนมีการเพาะเลี้ยงกันหลายแห่ง แต่ต่อมาก็ตายหมด และไม่มีไก่ฟ้าชนิดนี้เข้าไปในยุโรปหรืออเมริกาเลย จนถึงปี ค.ศ.1932 ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสจึงได้มาเลี้ยงอีก และขยายพันธุ์ได้ในเวลาต่อ มา จนมีการกระจายไปเลี้ยงอีกหลายแห่งในยุโรป ญี่ปุ่น และอเมริกา ปัจจุบันมีรายงานว่า มีเลี้ยงกันที่สวนสัตว์เล็ก ๆ ที่ Kohima ในนากาแลนด์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียเพียงแห่งเดียวเท่านั้น มีชนิดย่อยอีกชนิดหนึ่งคือ Molesworth’s Tragopan (T.b.molesworthi) ซึ่งพบทางตะวันออกสุดของภูฐาน และรู้จักกันเพียงไก่ที่ถูกสตัฟไว้เพียง 2 ตัวเท่านั้น
|
6.ไก่ฟ้าตระกูล Gallus
- ไก่ป่าแดง
- ไก่ป่าเขียว
- ไก่ป่าเทา
- ไก่ป่าศรีลังกา
- ไก่ป่าตุ้มหูขาว
- ไก่ป่าตุ้มหูแดง
ไก่ป่าจัดอยู่ในตระกูล Gallus มีลักษณะที่สำคัญผิดกับไก่ฟ้าอื่นๆตรงที่บนหัวมีหงอนเนื้อไม่ใช่หงอนที่เป็นขน มีเหนียงเป็นเนื้อห้อยลงมาจากโคนปาก และคางที่เป็นหนังเกลี้ยงๆไม่มีขน เพศผู้มีขนวสวยงาม ขนหางตั้งเรียงกันเป็นสันสูง 14-16 เส้น เส้นกลางยาว ปลายแหลมและอ่อนโค้ง แข้งมีเดือยข้างละอัน เพศเมียมีขนาดเล็กกว่า ขนไม่สวยงาม สีไม่ฉูดฉาด หงอนและเหนียงเล็ก แข้งไม่มีเดือย ไก่ป่ามีทั้งหมด 4 ชนิดและถ้ารวมชนิดย่อยแล้วจะมีทั้งหมด 8 ชนิดย่อย คือ
1.ไก่ป่าแดง
ชื่อสามัญ Red Junglefowl
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus gallus
ไก่ป่าแดงแบ่งเป็นชนิดย่อยได้ 5 ชนิดได้แก่
1.1ไก่ป่าตุ้มหูขาว หรือไก่ป่าอีสาน (Cochin-Chinese red junglefowl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gallus gallusgallus มีตุ้มหูสีขาว โคนหางมีปุยขนสีขาว พบทั่วๆไปทางภาคอีสาน และภาคตะวันออกตั้งแต่ระยองเลียบชายแดนเขมร ไปจนถึงอุบลราชธานี
1.2ไก่ป่าตุ้มหูแดง หรือไก่ป่าแดงพันธุ์พม่า (Burmese Red Junglefowl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gallus gallus spadiceus มีลักษณะเหมือนชนิดแรก แต่มีตุ้มหูสีแดง ในประเทศไทยมีทางภาคใต้ ภาคตะวันตกเรื่อยไปถึงภาคเหนือของประเทศไทย นอกนั้นมีในประเทศพม่าและสุมาตราตอนเหนือ
1.3 Tonkinese Red Junglefowl มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gallus gallus jabouillei มีสร้อยคอสีแดง หงอนและตุ้มหูแดง มีในเวียดนามเหนือ จีนใต้ และเกาะไหหลำ
1.4 Indian Red Junglefowl มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gallus gallus murghi มีสร้อยคอสีเหลือง ตุ้มหูขาว พบทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และบริเวณตอนใต้เชิงเขาหิมาลัย
1.5 Java Red Junglefowl มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gallus gallus bankiva มีสร้อยคอที่ปลายทู้จนกลมมนผิดจากไก่ป่าชนิดอื่นๆมีในเกาะสุมาตรา ตอนใต้ของเกาะชวาและบาหลี
ไก่ป่าชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ หรือป่าผสมป่าไผ่ ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับ 6,000 ฟุต ชอบหากินเวลาเช้าตรู่ และตอนเย็น ผสมพันธุ์ประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม วางไข่ครั้งละประมาณ 5-6 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 19-21 วัน ในช่วงฤดูฝนตัวผู้จะผลัดขนและหยุดขัน
2. ไก่ป่าเขียว
ชื่อสามัญ Green Junglefowl
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus varius
ไก่ป่าเขียวเป็นไก่ป่าชนิดเดียวที่หงอนไม่มีจักร และมีเหนียงใต้คางเพียงแผ่นเดียว ต่างจากไก่ป่าชนิดอื่นๆและเนื่องจากหงอนและเหนียงมีหลายสี จึงมีบางคนเรียกว่า ไก่ป่าเจ็ดสี มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเกาะชวาและบริเวณเกาะใกล้เคียงเท่านั้น ชอบอาศัยอยู่บริเวณป่าต่ำใกล้ชายฝั่งทะเล ชอบป่าที่แห้งโดยเฉพาะที่มีโขดหินและมีต้นไม้ขึ้นแซมไม่ไกลจากทุ่งนา และสวนของชาวพื้นเมืองมีพบบ้างแต่จำนวนน้อยที่อยุ่ในป่าลึกจากชายฝั่ง และจะพบทางตะวันตกของเกาะชวามากกว่าทางด้านตะวันออก ซึ่งทางด้านตะวันตกจะพบไก่ป่าแดงชนิดย่อย Gallus gallus bankiva อยู่มากกว่า ปกติจะหลบอยู่ตามพุ่มไม้และป่าไผ่ จะออกมาหากินเฉพาะตอนเช้าตรู่และตอนพลบค่ำเท่านั้น
ไก่ป่าชนิดนี้ไม่ค่อยตื่นคน เป็นไก่ป่าที่ไม่คุมฝูงเหมือนไก่ป่าแดง ปกติจะหากินตัวเดียวหรือหากินเป็นคู่หรือเป็นครัวเล็กๆ ฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤษจิกายน วางไข่ครั้งละประมาณ 6-10 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 21 วัน ในการเพาะเลี้ยงนั้นจะวางไข่ประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และจะให้ไข่จำนวนมากกว่าไก่ป่าชนิดอื่นๆ ตัวผู้จะมีสีเต็ม และโตเต็มวัยเมื่ออายุ 1 ปี
ไก่ป่าเขียวไม่ผลัดขนในฤดูฝนเหมือนไก่ป่าแดง มีการนำมาเพาะเลี้ยงนานแล้ว โดยชาวพื้นเมืองนำมาผสมกับไก่ตัวเมียพื้นบ้าน ลูกผสมที่ได้เรียกว่า "Bekissar"
|
7.ไก่ฟ้าตระกูล Crossoptilon
- ไก่ฟ้าหู สีขาว
- ไก่ฟ้าหู สีน้ำตาล
- ไก่ฟ้าหู สีน้ำเงิน
ไก่ฟ้าตระกูล Crossoptilon เรียกตามคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า ไก่ฟ้าหู เพราะไก่ฟ้าในตระกูลนี้มีขนคลุมหูยาวโค้งขึ้นไปข้างๆตัว ที่หน้ามีสีแดง แข้งแดง เพศผู้และเพศเมียมีสีเหมือนกันมากแต่เพศผู้จะมีเดือยแหลมยาว จัดอยู่ในตระกูล Crossoptilon มี 3 ชนิด คือ
1. ไก่ฟ้าหูสี-ขาว
ชื่อสามัญ White Eared Pheasant
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crossoptilon crossoptilon
ไก่ฟ้าหูคู่แรกถูกส่งไปที่อังกฤษเมื่อปี ค.ศ.1891 แต่ขายพันธุ์ไม่ได้ ต่อมาจึงได้มีการสั่งเข้าไปเลี้ยงอีกหลายครั้ง จนปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันพอสมควร ไก่ฟ้าหู สีขาว วางไข่ครั้งละประมาณ 4-7 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 24-25 วัน ไก่ฟ้าหู-สีขาวเป้นไก่ฟ้าหูชนิดเดียวที่แผงขนหูไม่ยื่นออกไปเหนือคอ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และธิเบต เป็นนกประจำถิ่นสามารถแบ่งเป็น 5 ชนิดย่อย ดังนี้
1.1 Szechuan White Eared-Pheasant (Crossoptilon crossoptilon) พบที่ระดับความสูง 10,000 ฟุต จนถึงระดับที่มีหิมะปกคลุมบนภูเขาทางด้านตะวันออกของเสฉวน และส่วนที่ติดกับด้านตะวันออกเฉียงใต้ของธิเบต เป็นไก่ฟ้าที่มีการเพาะเลี้ยงมากที่สุดในจำนวนชนิดย่อยทั้งหมด
1.2 Yunnan White Eared-Pheasant (Crossoptilon crossoptilon lichiangense) พบทางตะวันตกเฉียงเหนือของยูนานที่ระดับความสูง 12,000-14,000 ฟุต ลักษณะเหมือนชนิดแรก แต่ปีกเป็นสีเทาอ่อน
1.3 Tibetan White Eared-Pheasant (Crossoptilon crossoptilon drouyni) พบทางฝั่งเหนือของแม่น้ำโขง และแม่น้ำสาละวินตอนบน ต่างจาก2ชนิดแรกตรงที่ปีกเป็นสีขาว
1.4 Dolan’s White Eared-Pheasant (Crossoptilon crossoptilon dolani) พบทางตอนใต้ของ Kokonor สีของขนทั่วไปเป็นสีเทาอ่อน ไม่ออกขาวเหมือน 3 ชนิดแรก
1.5 Harman’s White Eared-Pheasant (Crossoptilon crossoptilon harmani) พบทางตะวันออกเฉียงใต้ของธิเบต และทางเหนือของภูเขาหิมาลัย สีเหมือนชนิดที่ 4 แต่ส่วนที่เป็นสีเทาจะเข้มกว่า
2. ไก่ฟ้าหู-สีน้ำตาล
ชื่อสามัญ Brown Eared Pheasant
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crossoptilon mantchuricum
ไก่ฟ้าหู-สีน้ำตาล มีถิ่นกำเนิดบนภูเขาทางด้านตะวันตกของจีน และไม่ปรากฏว่ามีในแมนจูเรียอย่างที่เข้าใจกัน จนเรียกไก่ฟ้าชนิดนี้ว่า Manchurian Eared Pheasant มาระยะหนึ่งในประเทศจีนเรียกไก่ฟ้าชนิดนี้ว่า Hoki ซึ่งชื่อนี้ก็เป็นที่รู้จักกันในยุโรปด้วย พบมากในบริเวณภูเขาทางด้านเหนือของซานสี ซึ่งยังเป็นสภาพป่าที่สมบูรณ์ถูกศึกษาครั้งแรกโดย Pere David ซึ่งพบมันบนภูเขาทางเหนือของกรุงปักกิ่งในปี ค.ศ.1862 และไก่ฟ้าหู-สีน้ำตาลทีมีชีวิตถูกส่งจากปักกิ่งไปฝรั่งเศสครั้งแรกในปี ค.ศ.1864 จากตัวผู้เพียงหนึ่งตัวและตัวเมียสองตัวในครั้งแรกนั้นสามารถขายพันธุ์ได้ถึงสองร้อยกว่าตัวในปี ค.ศ.1869 และจากนั้นก้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วยุโรป โดยไม่ปรากฏว่ามีการสั่งไก่ฟ้าหู-สีน้ำตาลเข้าไปอีกเลย ซ่งหมายความว่า ไก่ฟ้าที่เลี้ยงกันทั้งยุโรปและอเมริกาก้มาจากพันธุที่เพาะได้ในฝรั่งเศสทั้งสิ้น จนปัจจุบันนี้มีการเพาะเลี้ยงกันทั่วโลก แต่อาจเนื่องจากมีการผสมพันธุในระบบเลือดชิดมานาน ทำให้ไข่ไม่ค่อยมีเชื้อและบางทีตัวผู้ก็ไม่มีเดือยหรือบางทีตัวเมียกลับมีเดือย เป็นต้น
|
8.ไก่ฟ้าตระกูล Lophophoprus
ไก่ฟ้าหิมาลายัน อยู่ในธิเบตและเนปาล
|

|
9.ไก่ฟ้าตระกลู Pucrasia
Migado Pheasants (ไก่ฟ้าใต้หวัน)
|

|
10. ไก่ฟ้าตระกูล Syrmaticus
ไก่ฟ้ารีฟ มีถิ่นกำเนิด ในจีน
|
 |
 |

|
11.ไก่ฟ้าตระกูล Ithaginis
ไก่ฟ้าสีเลือดมีถิ่นกำเนิด ในจีน ธิเบตและเนปาล
|
 |
 |
 |
 |

|
12.ไก่ฟ้าตระกูล Chrysolophus
ไก่ฟ้าโกลเดน
|
 |
 |
 |

|
13.ไก่ฟ้าตระกูล Catreus
ไก่ฟ้าเชียร์ Catreus wallichii
|

|
14.ไก่ฟ้าตระกูล Phasianus
ไก่ฟ้าเขียวและไก่ฟ้าคอแหวนมีถิ่นที่อยู่ในญี่ปุ่น
|
 |

|
15.ไก่ฟ้าตระกูล Lophura
ไก่ฟ้าตระกูลนี้จัดเป็นพวกที่มีรูปร่างคล้ายไก่จัดอยู่ในตระกูล Lophura ซึ่งเป็นตระกูลใหญ่มีไก่ฟ้าถึง 10 ชนิด ถ้ารวมชนิดย่อยแล้วจะมีทั้งหมด 36 ชนิดย่อย เป็นไก่ฟ้าที่มีผู้นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก ไก่ฟ้าของไทยส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในตระกูลนี้
1.ไก่ฟ้าไร้หงอน
ชื่อสามัญ Crestless Fireback
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophura erythrophthalma
ไก่ฟ้าไร้หงอนเป็นไก่ฟ้าที่แปลกจากไก่ฟ้าอื่นๆตรงที่มีขนหางสั้นสี้เหลือง ตัวเมียมีเดือยแหลมเหมือนตัวผู้ ไก่ฟ้าชนิดนี้มี 2 ชนิดย่อย
1.1ชื่อสามัญ The Malay Cresstless Fireback ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophura eyrthrophthalma erythropthelma มีถิ่นกำเนิดในป่าต่ำเขตร้อนของคาบสมุทรมาเลย์และคาบสมุทรสุมาตราตะวันตก มักจะพบหากินเป็นฝูงเล็กๆ 5-6 ตัว โดยมีตัวผู้คุมฝูงเพียงตัวเดียว บางครั้งก็เข้ามาหากินใกล้แหล่งเพาะปลูกและตามแหล่งน้ำ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ส.1822 มีการเพาะเลี้ยงที่กรุงปารีสปีค.ศ.1872 ในการเพาะเลี้ยงไก่ฟ้าชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้ดีในที่ๆมีอากาศอบอุ่น เลี้ยงไม่ค่อยได้ผลในที่ๆมีอากาศหนาว ในฤดูผสมพันธุ์จะวางไข่ถึง 3 ชุด ชุดละ 3-6 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 24 วัน ลูกไก่แข็งแรงเลี้ยงง่ายตัวผู้จะเหมือนไก่โตเต็มวัย เมื่อมีอายุเพียง 4 เดือนเท่านั้น แต่จะผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 2 ปี
1.2ชื่อสามัญ Bomean Crestless Fireback ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophura erythrophthama pyronota มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมของพวกมันน้อยมาก เข้าใจว่าเหมือนกับชนิดแรก ถุกค้นพบหลังจากชนิดแรกไม่นาน ถูกส่งไปเลี้ยงที่กรุงลอนดอน ในปี ค.ส.1870 และมีรายงานว่ามีเพียงไม่กี่ตัวในปี ค.ศ.1880-1882 ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดเพาะเลี้ยงอยู่เลย
2.ไก่ฟ้าหน้าเขียว
ชื่อสามัญ Cressted Fireback Pheasants
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophura ignita rufa
ไก่ฟ้ากลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 4 ชนิดย่อย
2.1ไก่ฟ้าหน้าเขียว ชื่อสามัญ Vieillot’s Crested Fireback ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophora ignita rofa พบในป่าตั้งแต่ตอนใต้ของเทิอกเขาตะนาวศรี แหลมมลายู และเกาะสุมาตรา ในประเทศไทยมีเฉพาะภาคใต้เลยคอคอดกระลงไป และเคยพบในป่าทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นไก่ฟ้าทีมีขานดใหญ่ที่สุดในตระกูล Lophura ด้วยกัน และมีลักษณะเด่นต่างจากไก่ฟ้าชนิดอื่นคือมีหนังหน้ากากสีฟ้าคราม ตัวผู้มีจงอยปากสีขาวขุ่น ขนหงอนเป็นพุ่มสีดำ คอ ลำตัว หน้าอกมีสีน้ำเงินเข้ม บริเวณหลังตอนท้ายและตะโพกมีสีเหลืองแกมแดง ขนหางคู่กลางมีสีขาว ลำตัวด้านข้างมีลายสีขาว แข้งสีแดงมีเดือยข้างละ 1 เดือย ตัวเมียพุ่มหงอนสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวด้านบน ปีก และหาง มีสีน้ำตาลแกมแดง ใต้คอ และหน้าอกมีสีน้ำตาลอ่อนและท้องมีเกล็ดสีขาวและดำ แข้งและนี้วเท้าสีแดงไม่มีเดือย ฤดูผสมพันธุ์
|
16.ไก่ฟ้าตระกูล Polyplectron
นกแว่นสีเทา ในภาคใต้ของไทย พม่าและมาเลเซีย
|
 |
 |
 |