ขอขอบคุณที่มาของขอมูล โครงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (สพภ.)
คู่มือการขออนุญาตเพาะพันธุ์สัตว์ป่า (เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าคุ้มครองเพื่อประโยชน์แก่กิจการสวนสัตว์สาธารณะ หรือเพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้เพื่อประโยชน์แก่การค้า)
1. คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต
1.1 เป็นเจ้าของกิจการและมีทรัพย์สินหรือมีฐานะดีพอที่จะดำเนินกิจการได้
1.2 มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
1.3 มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่ยู่ในราชอาณาจักร
1.4 ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
1.5 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
1.6 ไม่อยู่ในระหว่างถูกพักใบอนุญาตหรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตซึ่งออกตาม พระราชบัญญัตินี้
1.7 ไม่เคยกระทำผิดบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 หรือผิดกฎหมายว่าด้วยศุลกากร หรือกฎหมายว่าด้วยการส่งออกหรือการนำเข้ามาใน ราชอาณาจักรซึ่งสินค้า ทั้งนี้ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการนำเข้าหรือการส่งออกสัตว์ป่า ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของนิติบุคคล นั้นต้องมีคุณสมบัติตาม (1.2) (1.3) (1.4) (1.5) (1.6) และ (1.7) ด้วย
2. การยื่นคำขอ ให้ประชาชนผู้ประสงค์จะขออนุญาต ยื่นขอรับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่า ตามแบบ สป.8 (เอกสารหน้า 4-7) พร้อมด้วยหลักฐาน
3. หลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมคำขอ
3.1 ในกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา (1) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต (2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการบัตรประจำตัวพนักงาน รัฐวิสาหกิจ หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
3.2 ในกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล (1) สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท (กรณีบริษัทจำกัดหรือ บริษัทมหาชนจำกัด) หรือของหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) แล้วแต่กรณี (2) หนังสือบริคนห์สนธิและข้อบังคับของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่จดทะเบียนไว้ 2 (3) หนังสือรบรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงรายการจดทะเบียน ตลอดทั้งชื่อ กรรมการ กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งออกมาแล้วไม่เกิน หกเดือน
3.3 โครงการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ชื่อเจ้าของโครงการ (2) ที่ตั้งของโครงการ (3) วัตถุกประสงค์ของโครงการ (4) ประเภท ชนิด ของสัตว์ป่าที่ขออนุญาตเพาะพันธุ์ (5) เป้าหมายของโครงการ (6) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน (7) เครื่องมือ อุปกรณ์ (8) วิธีการ ขั้นตอน และระยะเวลาในแต่ละขั้นตอน
3.4 หลักฐานการได้มาซึ่งสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองเพื่อการเพาะพันธุ์ (ถ้ามีสัตว์ป่าอยู่ใน ระหว่างการขออนุญาตเพาะพันธุ์) ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ขอรับใบอนุญาต ได้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองอยู่ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือได้มาจากการจำหน่ายของผู้มีไว้ในครอบโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนหรือวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (2) ผู้ขอรับใบอนุญาตได้ครอบครองสัตว์ป่าอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่านั้นเป็น สัตว์ป่าคุ้มครองตามมาตรา 6 ใช้บังคับ หรือได้มาจากการจำหน่ายของผู้มีไว้ในครอบครองก่อนวันที่มี กฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่านั้นเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามมาตรา 6 (3) ผู้ขอรับใบอนุญาตได้มาซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่ทางราชการล่าเพื่อกิจการเพาะพันธุ์ตามมาตรา 26 (4) ผู้ขอรับใบอนุญาตได้มาซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองจากการจำหน่ายของผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและ ดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะที่เลิกดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ ตามมาตรา 32 หรือจากการจำหน่ายของ ผู้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าที่เลิกดำเนินกิจการ (5) ผู้ขอรับใบนอนุญาตได้มาซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองจากการจำหน่ายของผู้รับใบอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่า ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ตามมาตรา 20 หรือได้มาจากการจำหน่ายของผู้รับใบอนุญาตที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ตามมาตรา 43 (6) ผู้ขอรับใบอนุญาตได้มาซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองจากการนำเข้าตามมาตรา 23 หรือมาตรา 24
3.5 สำเนาใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ (เฉพาะกรณีขอเพาะพันธุ์เพื่อ กิจการสวนสัตว์สาธารณะ) 3
3.6 หลักฐานการมีสิทธิใช้สถานที่ที่จะดำเนินการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า (เช่น โฉนดที่ดิน น.ส.3ก หนังสือสัญญาเช่า ฯลฯ)
3.7 แผนผังสังเขปของสถานที่ที่จะดำเนินการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า จำนวน 2 ชุด
3.8 หลักฐานอื่น ๆ ได้แก่ ใบรับรองแพทย์
3.9 ในกรณีที่ให้ผู้อื่นมายื่นขอแทนผู้ขออนุญาต (1) หนังสือมอบอำนาจจากผู้ขออนุญาต (2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการบัตรประจำตัวพนักงาน รัฐวิสาหกิจ หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ของผู้รับมอบอำนาจ
4. สถานที่ยื่นคำขอ
4.1 ท้องที่กรุงเทพมหานคร ยื่นที่สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช
4.2 ท้องที่อื่น ยื่นที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์แห่งท้องที่ หรือหน่วยงานที่สำนักบริหารพื้นที่ อนุรักษ์ มอบหมาย
5. การตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้ขออนุญาต รอรับหนังสือจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปา และพันธุ์พืช เพื่อไปตรวจประวัติ อาญชากรรม (พิมพ์ลายนิ้วมือ) ที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (กรณีมี ภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ) หรือสถานีตำรวจภูธรตามภูมิลำเนาของผู้ขออนุญาต
6. การตรวจสถานที่ขออนุญาต และสัตว์ป่า ผู้ขออนุญาต นำเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปา และพันธุ์พืช ตรวจสถานที่เพาะพันธุ์สัตว์ป่า และสัตว์ป่า (ถ้ามี)
7. การแจ้งผลการพิจารณา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปา และพันธุ์พืช จะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 40 วัน
8. การชำระค่าธรรมเนียม และรับใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่า มาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์ สัตว์ป่า (สป.9) เป็นเงิน 1,000 บาท ที่สำนักบริหารงานกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปา และพันธุ์พืช แล้วนำใบเสร็จมารับใบอนุญาตฯ 4 สป. 8
|