ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletไก่ฟ้าพญาลอ
bulletไก่ฟ้าจันทบูร
bulletไก่ฟ้าหลังขาว
bulletไก่ฟ้าหน้าเขียว
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งแดง
bulletไก่ฟ้าหลังเทา แข้งตะกั่ว
bulletนกยูงไทย
bulletไก่จุก
dot
ไก่ฟ้าต่างประเทศ
dot
bulletไก่ฟ้าสีทอง (โกลเด้น)
bulletไก่ฟ้าเยลโล่
bulletไก่ฟ้าเลดี้แอมเฮิทส์
bulletไก่ฟ้าเลดี้ ดำ
bulletไก่ฟ้ารีฟ
bulletไก่ฟ้าคอแหวนเขียว
bulletไก่ฟ้าไวท์เครส
bulletไก่ฟ้าดาร์คโทส
bulletนกยูงอินเดีย
bulletไก่ฟ้า เอ็ดเวิร์ด
bulletไก่ฟ้า สวินโฮว์
bulletไก่ฟ้า อีเลียด
bulletลูกไก่ฟ้า ในฟาร์มบ้านปู่
bulletไก่ฟ้า ไดอารี่
dot
ขอบคุณสื้อมวลชน ไก่ฟ้าบ้านปุ่
dot




สัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้
 

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 และ กฎกระทรวง เรื่องการกำหนดชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองที่ให้เพาะพันธุ์ได้ พ.ศ 2546

  ย้อนไปเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2544 กรมป่าไม้ได้มีประกาศ เรื่อง การตรวจสอบและทำเครื่องหมายสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน และซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งประกาศดังกล่าว กำหนดให้ผู้ครองครองมาแจ้งการครอบครองต่อกรมป่าไม้เพื่อตรวจสอบ และทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าและจะออกใบอนุญาตให้ครองครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว (สป.2) หรือใบรับรองให้ครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว (สป.3) และหนังสือมอบให้คุ้มครองซากสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองชั่คราวแทนกรมป่าไม้ (อญ./สป.1) แต่คนทั่วไปยังไม่เข้าใจรายละเอียดดีพอ จึงมิได้ไปดำเนินการแจ้งตามแบบและวิธีการของกรมป่าไม้

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ทางราชการจึงได้ออกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 ด้วยเหตุผลที่ในปัจจุบันมีผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจำนวนมาก ที่ไม่ได้นำสัตว์ป่าคุ้มครองมามอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือไม่ได้มาแจ้งรายการเกี่ยวกับชนิดและจำนวนของสัตว์ป่าคุ้มครอง ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมดูแล ให้ผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองได้ สมควรกำหนดให้ผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแจ้ง การครอบครองและขออนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองดังกล่าว ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่ต้องรับโทษ

ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองโดยยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย หากมาแจ้งรายการเกี่ยวกับชนิด และจำนวนของสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่ในความครอบครองของตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ให้บังคับ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

หากผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองนั้น ต้องการจะเลี้ยงดูสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นต่อไป ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพการเลี้ยงดูสัตว์ป่าคุ้มครองของผู้นั้น ว่าอยู่ในสภาพที่ดีและปลอดภัยเพียงใด หากเห็นว่าสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นได้รับการเลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ และปลอดภัย ให้อธิบดีอนุญาตให้ผู้นั้นครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นต่อไปได้ โดยออกใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวไว้ให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ใบอนุญาตดังกล่าวให้มีอายุเพียงเท่าอายุของสัตว์ป่าคุ้มครองนั้น และเมื่อสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นตายหรือเพิ่มจำนวนขึ้นโดยการสืบพันธุ์ ผู้รับใบอนุญาตต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเพิ่มจำนวนหรือตาย

หากผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองนั้น ไม่ต้องการจะเลี้ยงดูสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นต่อไป หรือเมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบเห็นว่าสัตว์ป่าคุ้มครองนั้น ได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่ดีพอและไม่ปลอดภัย ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองจำหน่ายสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นให้แก่ผู้รับใบอนุญาต ดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ หรือจำหน่ายสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่ต้องได้รับอนุญาตให้แก่ผู้รับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ ให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ หรือวันที่ได้รับแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต แล้วแต่กรณี และเมื่อสิ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ยังมีสัตว์ป่าคุ้มครองเหลืออยู่เท่าใดให้สัตว์ป่าคุ้มครองนั้นตกเป็นของแผ่นดิน


 

สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่ให้เพาะพันธุ์ได้

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2546 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ออก กฎกระทรวงกำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยให้เหตุผลว่าควรส่งเสริมให้มีการเพาะพันธุ์เพิ่มเติม เพื่อป้องกันมิให้สูญพันธุ์ และเพื่ออนุญาตให้บุคคลมีไว้ในครอบครอง ค้า และเพาะพันธุ์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงควรที่จะกำหนดสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ตามบัญชีข้างท้ายนี้

 


บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้

สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระจงเล็ก กวางป่า ชะมดเช็ดหรือชะมดเชียง ทรายหรือเนื้อทรายหรือตามะแน ลิงกัง ลิงวอก ลิงแสม อีเก้งหรือ เก้งหรือฟาน

สัตว์ป่าจำพวกนก ไก่จุก ไก่ป่า ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหน้าเขียว ไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าหลังเทา ไก่ฟ้าหางลายขวาง นกกระทาดงแข้งเขียว นกกระทาดงคอสีแสด นกกระทาดงจันทบูรณ์ นกกระทาดงปักษ์ใต้ นกกระทาดงอกสีน้ำตาล นกกระทาทุ่งนกกะรางคอดำหรือนกซอฮู้ นกกะรางสร้อยคอเล็ก นกกะรางสร้อยคอใหญ่ นกกะรางหัวหงอก นกกะรางอกสีน้ำตาลไหม้ นกกะลิงหรือนกกะแล นกกางเขนดง หรือ นกบินหลาดง หรือ นกบินหลาควน หรือ นกจิงปุ๊ย นกกางเขนบ้าน หรือ นกบินหลาบ้าน หรือนกอีแจ้บ หรือนกจีจู๊ นกกิ้งโครงคอดำ นกแก้วโม่ง นกแก้วหัวแพร นกขุนทอง นกแขกเต้า นกปรอดหัวโขน หรือ นกกรงหัวจุก นกยูง นกแว่นสีเทา หรือ นกแว่นเหนือ นกแว่นสีน้ำตาล หรือ นกแว่นใต้ นกหกเล็กปากดำ นกหกเล็กปากแดง นกหกใหญ่ นกหว้า นกเอี้ยงสาริกา หรือ นกเอี้ยงสาลิกา นกเอี้ยงหงอน เป็ดคับแค เป็ดแดง เป็ดเทา เป็ดลาย เป็ดหงส์ เป็ดหางแหลม

สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน งูสิง งูสิงหางลาย หรือ งูสิงลาย งูหลาม งูเหลือม จระเข้น้ำเค็ม จระเข้น้ำจืด

สัตว์ป่าจำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก กบทูด หรือ เขียดแลว

สัตว์ป่าจำพวกปลา ปลาตะพัด หรือ ปลาอโรวาน่า ปลาเสือตอ ปลาเสือ หรือปลาลาด 

    

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




บทความเกี่ยวกับไก่ฟ้า

การเลือกซื้อไก่ฟ้า article
สัตว์ป่าคุ้มครอง article
พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 article
การขออนุญาตครอบครองสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ฟ้า การดูแล



Copyright © 2014 All Rights Reserved.